วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสาร

ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           
         ความหมาย ระบบการโอนถ่ายข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    1.ข่าวสาร (Message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ
    2.ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
    3.สื่อหรือตัวกลาง (Media) เป็นสื่อหรือช่องทาง ที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
    4.ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
    5.กฎ ข้อตกลง ระเบียบวิธีการรับส่ง(protocol)

สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์

1.สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
      1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
          – สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)
          – สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP)
      1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูล
เป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะ
หรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
       1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล
ในรูปแบบของแสง

2.สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
       2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร
       2.2 ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานี
ภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม
       2.3 แอคเซสพอยต์ (Access Point)


ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน


ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์


1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยน   ไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
3. สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)
4. สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ
5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)

2. เครือข่ายเมือง (Metropolises Area Network :MAN)

3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)

4. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)


รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย(network topology)

          1.การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้

         2. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้

        3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network) เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน

        4. เครือข่ายแบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน


อุปกรณ์เครือข่าย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุปกรณ์เครือข่าย

1. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย
2. โมเด็ม (modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก(Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
3. การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN
4. สวิตช์ (Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว
5. เราท์เตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้



โปรโตคอล (Protocol)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปรโตคอล (Protocol)
             โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกันซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกัน
ในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนั่นองค์กรที่เกี่ยวข้องได้กำหนดโปรโตคอลที่เรียกว่ามาตรฐานการจัดการระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด(Open System International :OSI)

ชนิดของโปรโตคอล
    1.ทีซีพีหรือไอพี (TCP/IP)
    2.เอฟทีพี (FTP)
    3.เอชทีทีพี (HTTP)
    4.เอสเอ็มทีพี (SMTP)
    5.พีโอพีทรี (POP3)

การถ่ายโอนข้อมูล
          1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission)
ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต
         2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)การถ่ายโอนข้อมูลแบบนุกรม
อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
                   1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
                   2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
                   3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น

ที่มา : http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson6-1.asp

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การถ่ายภาพ

ถ่ายภาพบุคคลอันน่าประทับใจโดยเน้นที่ตัวบุคคล

       หากคุณทำให้ฉากหลังพร่ามัวและเน้นที่ตัวบุคคล คุณจะสามารถถ่ายภาพที่น่าประทับใจโดยมีวัตถุหลักที่ชัดเจนได้
ภาพถ่ายเหล่านี้เรียกว่าภาพบุคคล และสามารถใช้เทคนิคนี้สำหรับการถ่ายสแน็ปช็อตประจำวัน ตลอดจนภาพถ่ายอันน่าจดจำในงานวันเกิดหรืองานแต่งงาน
เมื่อถ่ายภาพแบบไม่ตั้งใจ เรามักจะถ่ายตัวบุคคลแบบเต็มตัวในเฟรม ซึ่งทำให้ได้องค์ประกอบที่จำเจราวกับภาพในแฟ้มประวัติ
ในบทนี้ คุณจะได้เรียนรู้เคล็ดลับบางประการในการเน้นที่ตัวบุคคลและตกแต่งภาพถ่ายให้น่าประทับใจยิ่งขึ้น
เมื่อถ่ายภาพ ให้ตั้งค่ากล้องเป็นโหมด A และเปิดช่องรับแสงให้มากที่สุด
การถ่ายภาพในด้านระยะไกล
       หากคุณใช้เลนส์ซูม ให้เข้าใกล้วัตถุให้มากที่สุด และถ่ายในด้านระยะไกล (โดยใช้ความยาวโฟกัสยาวขึ้น) ด้วยวิธีนี้ คุณสามารถกำจัดวัตถุโดยรอบที่ไม่ต้องการและทำให้ฉากหลังพร่ามัวได้มากขึ้น จึงเน้นเฉพาะตัวบุคคลให้เด่น


[1] ความยาวโฟกัส: 50 มม. /
เลข F: 2.8[2] ความยาวโฟกัส: 50 มม. /
เลข F: 2.8

       ในตัวอย่างข้างต้น ภาพ [2] ถ่ายเข้าใกล้กับตัวบุคคลให้มากขึ้นและซูมที่ส่วนลำตัวด้านบน ภาพที่ได้จะแสดงอารมณ์ของตัวบุคคลได้อย่างโดดเด่น จึงสื่ออารมณ์ของภาพได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการถ่ายภาพในระยะใกล้ ฉากหลังจะพร่ามัวยิ่งขึ้นและเน้นที่การแสดงอารมณ์ของเด็กผู้หญิง
สำหรับการถ่ายภาพที่น่าจดจำในสถานที่ท่องเที่ยว ภาพถ่ายอย่างภาพ [1] ซึ่งรวมเอาทิวทัศน์รายรอบมาไว้ในเฟรมก็อาจจะดีกว่า อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการให้ตัวบุคคลโดดเด่นเพียงอย่างเดียว ภาพ [2] จะน่าประทับใจมากกว่า
การพิจารณาองค์ประกอบ

        การเปลี่ยนองค์ประกอบจะสร้างบรรยากาศของภาพที่แตกต่างออกไปอย่างมาก แม้ว่าคุณจะถ่ายวัตถุเดียวกัน
ในการถ่ายภาพแบบสบายๆ เรามักจะจัดองค์ประกอบของภาพโดยเอาตัวบุคคลไว้ตรงกลางเฟรม อย่างไรก็ตาม เมื่อถ่ายภาพบุคคล ให้ลองใช้ "Rule of Thirds" (กฎสามส่วน) ในการจัดองค์ประกอบ
ในการจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" เฟรมจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน (แนวนอน 3 x แนวตั้ง 3) และวัตถุหลักจะถูกจัดวางไว้ที่จุดตัดของเส้นแบ่ง สำหรับภาพบุคคล ให้วางกึ่งกลางของใบหน้าหรือตาไว้ที่จุดตัด
        "Rule of Thirds" เป็นพื้นฐานของภาพถ่ายที่ได้สัดส่วน หากคุณไม่แน่ใจว่าจะจัดองค์ประกอบอย่างไร ให้ลองใช้ "Rule of Thirds." โดยให้ยึดกฎข้อนี้ไว้ คุณจะสามารถถ่ายภาพดีๆ ได้มากมายโดยอัตโนมัติ กล้อง α มีฟังก์ชันในการแสดงเส้นกริด "Rule of Thirds" บนหน้าจอด้านหลังของกล้อง ใช้ฟังก์ชันนี้หากคุณต้องการแนวทางการจัดองค์ประกอบภาพ


ความยาวโฟกัส: 24 มม. / เลข F: F1.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/250 วินาที

        เพียงวางจุดกึ่งกลางของศีรษะบนเส้นแบ่ง ภาพด้านบนก็กลายเป็นภาพที่น่าประทับใจและได้สัดส่วน นอกจากนี้ การเหลือพื้นที่ในบริเวณที่ตัวบุคคลทอดสายตาไป ภาพที่ได้ก็จะถ่ายทอดบรรยากาศของช่วงเวลานั้นออกมา
และเนื่องจากเป็นหลักการเบื้องต้น ควรจะถ่ายภาพในแนวตั้งดังเช่นภาพข้างบน การวางลำตัวของบุคคลให้ขนานกับด้านยาวของภาพจะทำให้ฉากหลังได้รับการจัดวางอย่างเป็นธรรมชาติ และคุณสามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่เรียบง่ายและชัดเจนได้อย่างง่าย การถ่ายภาพในแนวนอนก็เป็นแนวทางที่ดีหากคุณต้องการให้มีฉากหลังด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการเน้นเฉพาะตัวบุคคล ขอแนะนำให้ใช้การถ่ายภาพในแนวตั้ง
การใช้แสงด้านหลัง

        อีกจุดหนึ่งที่สำคัญก็คือมุมของแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับภาพถ่ายผู้หญิง คุณสามารถปรับผิวและเส้นผมให้มีความนุ่มนวลได้ด้วยการถ่ายโดยใช้แสงด้านหลัง หากต้องการให้ได้แสงด้านหลังที่สวยงาม ให้หลีกเลี่ยงช่วงเวลากลางวันที่แสงแดดจัด และให้ถ่ายในช่วงบ่ายเมื่อแสงแดดอ่อนลง หรือในวันที่มีเมฆหากเป็นไปได้ หากคุณต้องการถ่ายภาพภายใต้แสงแดดจัด ให้ลองหาวิธีทีให้แสงอ่อนลง เช่น การถ่ายใต้ต้นไม้
ในทางกลับกัน หากคุณต้องการถ่ายโดยใช้แสงด้านหน้า จะทำให้เกิดเงาบนใบหน้า และการแสดงอารมณ์ของตัวบุคคลจะดูขรึมเนื่องจากแสงจ้า หากคุณสามารถควบคุมมุมของแสงได้ ให้ลองสร้างแสงด้านหลัง
        หากคุณถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหลัง ใบหน้าอาจดูมืดได้ ในกรณีนี้ ให้ปรับการเปิดช่องรับแสงโดยใช้ฟังก์ชันการชดเชยแสงเพื่อให้ใบหน้ามีความสว่างเพียงพอ แม้ว่าฉากหลังจะค่อนข้างขาวเล็กน้อย แต่จะช่วยปรับให้บรรยากาศของบุคคลดูนุ่มนวล


ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 1.4 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/1600 วินาที / การชดเชยแสง: +0.7

        ภาพนี้คือการถ่ายภาพบุคคลผู้หญิงที่ใช้แสงด้านหลังในวันที่มีเมฆ ตัวบุคคลจะถูกส่องสว่างจากด้านหลังทางด้านขวา ในภาพไม่มีเงาที่ไม่ต้องการบนใบหน้า และแสงที่เปล่งประกายผ่านเส้นผมก็ขับให้ดูนุ่มนวลและดูเบาสบาย
ลองใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่
        แนะนำให้ใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่เพื่อทำให้ฉากหลังพร่ามัวเพิ่มขึ้นและเน้นให้ตัวบุคคลดูโดดเด่นเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่ยอมให้แสงปริมาณมากเข้ามายังกล้อง จึงช่วยลดการเบลอเมื่อถ่ายในสถานการณ์ที่มีแสงน้อยตลอดจนภาพบุคคลได้


ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/50 วินาที


SAL50F14

        เลนส์ "ปกติ" ที่รวดเร็วซึ่งมีความจำเป็นนี้จะให้ความละเอียดแบบทั่วถึง ขณะที่การผสานกันของการออกแบบช่องรับแสงสูงสุด F1.4 และช่องรับแสง Circular ช่วยให้สามารถสร้างเอฟเฟกต์พร่ามัวที่นุ่มนวลราวแพรไหมขึ้นมาเพื่อปรับความลึกของภาพและแยกส่วนประกอบที่สำคัญออกมา เนื่องจากช่องรับแสงขนาดใหญ่ จึงยอมให้แสงเข้ามามากขึ้นซึ่งช่วยให้การถ่ายภาพโดยใช้มือถือง่ายขึ้น แม้ในสถานการณ์ที่มีแสงน้อย


ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 1.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/4000 วินาที


SEL50F18

          นี่คือเลนส์ระยะไกลปานกลางที่มีความยาวโฟกัส 50 มม. ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพบุคคล การออกแบบช่องรับแสงขนาดใหญ่และช่องรับแสง Circular จะสามารถสร้างฉากหลังที่พร่ามัวได้อย่างงดงาม นอกจากนี้ ด้วยการทำงานร่วมกันกับระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical SteadyShot จึงสามารถถ่ายภาพที่คมชัดภายใต้สภาวะแสงน้อยได้

ที่มา: http://www.fusionidea.biz/html-


การจับภาพการส่องแสงที่สวยงาม

การถ่ายภาพทิวทัศน์ทั้งหมด
      เมื่อถ่ายภาพการส่องแสง บางครั้งคุณอาจต้องการจับภาพทิวทัศน์ทั้งหมด เช่น ทิวทัศน์ของเมือง และบางครั้งคุณอาจต้องการจับภาพเป้าหมายของคุณในระยะใกล้


ทิวทัศน์ทั้งหมดที่ถูกบันทึกภาพ ความยาวโฟกัส: 24 มม. (เทียบเท่า 35 มม.), f-stop: 2.8, ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที


ภาพระยะใกล้ที่ถูกบันทึกภาพ ความยาวโฟกัส: 50 มม., f-stop: 1.8, ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที

       โดยทั่วไป เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ทั้งหมด ให้ลองตั้งค่าการชดเชยแสง สมดุลสีขาว และ สร้างสรรค์ภาพถ่าย ให้มีลักษณะคล้ายกับการถ่ายภาพในเวลากลางคืน นอกจากนี้ โปรดดูการจับภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนให้ตรึงอารมณ์ ซึ่งจะกล่าวถึงพื้นฐานเกี่ยวกับการถ่ายภาพเวลากลางคืน
การตั้งค่ารูรับแสง
        ในการโฟกัสกล้องถ่ายรูปที่ทิวทัศน์ทั้งหมด ให้ถ่ายภาพด้วยรูรับแสงขนาดเล็ก คุณสามารถจับภาพที่สวยงามโดยให้ทิวทัศน์ทั้งฉากอยู่ในโฟกัสได้ โดยการตั้งค่ารูรับแสงให้อยู่ระหว่าง f8 และ f11 อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่มีขาตั้งกล้อง ควรป้องกันการสั่นไหวของกล้องถ่ายรูปให้มากที่สุด แม้ในขณะถ่ายภาพฉากทั้งหมด ให้เปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
การชดเชยแสง
          เคล็ดลับพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพการส่องแสงคือ การปรับความสว่างเพื่อสร้างบรรยากาศโดยรวม การปรับการชดเชยแสงไปในทาง + จะสร้างภาพที่มีชีวิตชีวามากขึ้น โดยขึ้นอยู่กับแหล่งของแสงและการตั้งค่ากล้องถ่ายรูป


การชดเชยแสง: 0 (เมื่อตั้งค่าเป็นโหมดการวัดแสงหลายรูปแบบ)


การชดเชยแสง: +1.3 (เมื่อตั้งค่าเป็นโหมดการวัดแสงหลายรูปแบบ)

       แต่เนื่องจากการจัดแสงของการส่องแสงต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่สว่างและพื้นที่มืดมากกว่าการถ่ายภาพฉากตอนกลางคืนทั่วไป จึงอาจมีความเปรียบต่างที่มากกว่า และคุณอาจไม่สามารถจับภาพสิ่งที่คุณเห็นได้ด้วยการปรับเพียงการชดเชยแสง ในกรณีนี้ ให้ลองปรับ D-Range Optimizer (DRO) DRO จะวิเคราะห์ภาพและปรับแต่งความสว่างที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละพื้นที่ในภาพ ฟังก์ชันนี้จะปรับความสว่างเฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับแสงน้อยเกินไปหรือได้รับแสงมากเกินไปเท่านั้น ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นพิเศษสำหรับภาพที่มีความต่างแสงมาก ต่างจากการชดเชยแสงที่จะเพิ่มหรือลดความสว่างโดยรวมของภาพอย่างเท่าเทียมกัน
        เมื่อถ่ายภาพการส่องแสง ผลของฟังก์ชันนี้จะเด่นชัดในระดับที่สูงขึ้น (Lv3 ถึง Lv5) อย่างไรก็ตาม การแก้ไขภาพมากเกินไปอาจทำให้ภาพออกมาไม่เป็นธรรมชาติและเกิดสัญญาณรบกวนที่มองเห็นได้ จึงควรเลือกระดับที่ดีที่สุดโดยการตรวจสอบจากรูปภาพที่คุณได้ถ่ายไว้แล้ว


DRO: ปิด


DRO: Lv5

       ในตอนนี้ การตั้งค่า DRO อยู่ที่ Lv5 เมื่อเปิด DRO พื้นที่มืดจะสว่างขึ้น เพื่อสร้างภาพที่ดูเหมือนกับภาพที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่ามากขึ้น อีกหนึ่งฟังก์ชันที่มีประโยชน์คือ HDR ซึ่งจะถ่ายภาพสามภาพในระดับแสงที่ต่างกันในครั้งเดียว แล้วนำภาพทั้งสามภาพมาซ้อนทับกันเพื่อจับภาพทั้งพื้นที่ที่สว่างและมืด
โปรดดูคู่มือผู้ใช้หรือคู่มือการใช้งานเพื่อเรียนรู้วิธีใช้ DRO และ HDR อัตโนมัติ
สมดุลสีขาว

        ด้วยการเปลี่ยนสมดุลสีขาว คุณจะสามารถเปลี่ยนการแสดงอารมณ์ของภาพที่มีการส่องแสงได้ แม้ว่า Auto WB จะสามารถสร้างสีได้ใกล้เคียงกับสีที่เรามองเห็นอย่างสมจริง คุณยังสามารถใช้แสงแดดกลางวันเพื่อสร้างภาพที่มีสีโทนอุ่น หรือแสงหลอดไฟฟ้าเพื่อสร้างภาพที่มีสีโทนเย็นหรือนุ่มนวลได้  


สมดุลสีขาว: AWB


สมดุลสีขาว: แสงแดด


สมดุลสีขาว: แสงหลอดไฟฟ้า

สร้างสรรค์ภาพถ่าย
         เมื่อทำการปรับแต่งการชดเชยแสง, DRO และสมดุลสีขาวไม่เพียงพอ คุณยังสามารถลองปรับความอิ่มตัวใน สร้างสรรค์ภาพถ่าย ไปในทาง + ได้อีกด้วย วิธีนี้จะทำให้การปรับแสงของการส่องแสงดูงดงามมากขึ้น และเรายังแนะนำให้คุณเปลี่ยนการตั้งค่าสร้างสรรค์ภาพถ่ายอีกด้วย สนุกไปกับการทดลองใช้การตั้งค่าสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่มีอยู่มากมาย


สร้างสรรค์ภาพถ่าย: มาตรฐาน ไม่มีการปรับแต่งความอิ่มตัว


สร้างสรรค์ภาพถ่าย: มาตรฐาน ปรับความอิ่มตัวไปในทาง +
การถ่ายภาพระยะใกล้

        เมื่อถ่ายภาพการส่องแสง ให้ลองจับภาพระยะใกล้ของการตกแต่งและวัตถุเล็กๆ ที่อยู่โดยรอบ ภาพระยะใกล้ที่มีเฉพาะการส่องแสงมีแนวโน้มที่จะทำให้หลอดไฟและสายไฟเด่นชัด การโฟกัสที่การตกแต่งบริเวณใกล้เคียงหรือการจัดตำแหน่งฉากหลังให้เหมาะสมจึงสามารถทำให้ภาพดูน่าประทับใจได้


(1) ภาพจากระดับสายตา


(2) ภาพจากมุมอื่น

         นี่คือรูปภาพระยะใกล้ของเครื่องตกแต่งต้นคริสต์มาส ภาพ (1) ถ่ายโดยโฟกัสเพียงเครื่องตกแต่งโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงฉากหลัง เนื่องจากไม่มีการส่องแสงอยู่ในฉากหลัง ภาพทั้งภาพจึงมืดและมีความสมดุลต่ำ ในภาพ (2) มุมกล้องถูกเลือกให้จับภาพต้นไม้อีกต้นหนึ่งในฉากหลัง ภาพนี้มีสมดุลที่ดีกว่าภาพ (1) และแสดงสิ่งที่อยู่โดยรอบอย่างงดงาม ในการปรับการเบลอฉากหลังให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ รูรับแสงจะเปิดกว้างจนสุด แต่ด้วยการปรับแสงอัตโนมัติจึงทำให้ภาพออกมามืด การชดเชยแสงจึงถูกปรับไปในทาง + ภาพที่ด้านขวาบนเป็นภาพทางเลือกที่ดีของเป้าหมายหลักขนาดเล็กในโฟกัส และการส่องแสงเป็นเป้าหมายรองในองค์ประกอบภาพ


การปรับการเบลอการส่องแสงในฉากหน้า ความยาวโฟกัส: 70 มม. (เทียบเท่า 35 มม.), f-stop: 2.8, ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที

        คุณสามารถถ่ายภาพโดยปรับการเบลอการส่องแสงในฉากหน้า เช่นเดียวกับที่คุณสามารถถ่ายภาพโดยปรับการเบลอการส่องแสงในฉากหลัง การสร้างการเบลอการส่องแสงเป็นวงขนาดใหญ่สามารถทำให้ภาพดูเหมือนดั่งมีเวทย์มนต์ ขนาดและจำนวนของการเบลอที่เป็นวงอาจแตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับการส่องแสง ระยะห่างของแสง และมุมกล้องสำหรับภาพนั้น เพื่อให้ได้สมดุลของภาพที่ดีที่สุด ให้ลองถ่ายภาพหลายๆ ภาพขณะเคลื่อนไหว หากการโฟกัสเป้าหมายในฉากหลังทำได้ยาก ให้ใช้การปรับโฟกัสแมนนวล


(1) ความยาวโฟกัส: 130 มม., f-stop: 5.6, ความเร็วชัตเตอร์: 1/200 วินาที


(2) ความยาวโฟกัส: 91 มม., f-stop: 5.6, ความเร็วชัตเตอร์: 1/125 วินาที โดยใช้ฟิลเตอร์ประกายแสง

         สำหรับภาพ (1) ใช้การปรับโฟกัสแมนนวลเพื่อปรับโฟกัสและทำให้ทุกสิ่งปรากฏในแบบเบลอๆ นี่เป็นวิธีที่ดีในการจับภาพที่น่าสนใจเมื่อเป้าหมายมีเพียงการส่องแสงเท่านั้น
นอกจากนี้ คุณสามารถใช้ฟิลเตอร์ประกายแสงที่มีอยู่ตามท้องตลาดเพื่อสร้างภาพที่แพรวพราว ตามที่แสดงในภาพ (2) โดยขึ้นอยู่กับการใช้งาน


การใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่

         ด้วยเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่ คุณสามารถสร้างภาพที่น่าประทับใจที่มีการปรับการเบลอฉากหลังมากขึ้น ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อถ่ายภาพการส่องแสง เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่สามารถจับภาพแสงได้มากกว่าเลนส์ซูม เป็นการสร้างการเบลอที่น้อยกว่าสำหรับการถ่ายภาพที่สะดวกมากขึ้นแม้ในบริเวณที่มีแสงน้อย

f-stop: 2.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/640 วินาที


SAL50F14

          เลนส์มาตรฐานรูรับแสงขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาอย่างดี พร้อมด้วยรูรับแสงสว่างไสวขนาด f1.4 เพลิดเพลินกับการแสดงอารมณ์ของภาพถ่ายโดยการสร้างการเบลอด้วยรูรับแสง และใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ เมื่อติดตั้งกับกล้องดิจิตอลรูปแบบ APS-C แบบเปลี่ยนเลนส์ได้ เลนส์นี้จะให้มุมมองความยาวโฟกัส 75 มม. (เทียบเท่า 35 มม.) แบบเลนส์เทเลโฟโต้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพบุคคล เมื่อผสมผสานกับคุณสมบัติ SteadyShot ที่มีอยู่ในกล้องตระกูล α™ เลนส์นี้จะเผยประสิทธิภาพในการปรับปรุงการถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งแม้ในสภาพแวดล้อมที่มืด


f-stop: 1.8, ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที

         เลนส์เทเลโฟโต้ขนาดกลางนี้มีความยาวโฟกัส 75 มม. (เทียบเท่า 35 มม.) เหมาะอย่างยิ่งสำหรับภาพบุคคล รูรับแสงสว่างไสวขนาด f1.8 และระบบออปติคส์ใหม่ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพที่มีการเบลออันงดงาม เมื่อผสมผสานกับฟังก์ชันป้องกันภาพสั่นไหวแบบออปติคอล เลนส์นี้จะเผยประสิทธิภาพในการถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งแม้ในสภาพแวดล้อมที่มืด นอกจากนี้ มอเตอร์ที่มีในตัวและการโฟกัสภายในมอบระบบ AF ที่ลื่นไหลและเงียบกริบ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายวิดีโอ ภายนอกของเลนส์ผลิตจากอลูมิเนียมอัลลอย สะท้อนภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง

ที่มา: http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson17.html


จับความเคลื่อนไหวในภาพ

วิธีการถ่ายโดยหยุดความเคลื่อนไหว
         ในการหยุดความเคลื่อนไหวของวัตถุชั่วขณะและจับภาพให้ที่ดีที่สุด คุณจำเป็นต้องถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น คุณสามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์ได้ตามต้องการในโหมด S แต่ใช้เลือกบรรยากาศโหมด "กีฬา" (โหมดถ่ายภาพ) ก่อน
โหมด "กีฬา" จะช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพที่หยุดความเคลื่อนไหวของวัตถุเคลื่อนที่ โหมดนี้เหมาะสำหรับวัตถุเคลื่อนที่ เนื่องจากความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นและ AF ติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เนื่องจากโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องจะเปิดใช้งานโดยอัตโนมัติ คุณจึงสามารถจับช่วงเวลาที่ดีที่สุดในฉากได้ง่ายยิ่งขึ้น โปรดทราบว่าการถ่ายภาพต่อเนื่องจะหยุดลงหากคุณนำนิ้วออกจากปุ่มชัตเตอร์หลังจากที่ปล่อยชัตเตอร์ไปแล้วครั้งหนึ่ง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณกดปุ่มชัตเตอร์ไว้ตลอดทุกฉากที่คุณต้องการจับภาพ


1/800 วินาที1/800 วินาที

          ในการถ่ายภาพตัวอย่างข้างบน ช่างภาพได้กดปุ่มชัตเตอร์ทันทีก่อนที่เด็กจะกระโดด และกดค้างไว้จนกว่าความเคลื่อนไหวจะหยุดลง ภาพถ่ายข้างต้นทั้ง 2 ภาพคือภาพที่ดีที่สุดในบรรดาภาพต่อเนื่องที่ถ่ายไว้ ด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ตั้งไว้ที่ 1/800 วินาที การเคลื่อนที่ของวัตถุจะดูหยุดลง

          เนื่องจากโหมด "กีฬา" ในเลือกบรรยากาศเป็นหนึ่งในโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ คุณจึงไม่สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าความสว่างและสีได้ หากต้องการใช้ฟังก์ชันเพื่อเปลี่ยนค่าต่างๆ เช่น การชดเชยแสง และสมดุลสีขาว ให้ถ่ายในโหมด S เมื่อถ่ายภาพในโหมด S ให้ตั้งค่าโหมดโฟกัสอัตโนมัติเป็น AF-C(AF ต่อเนื่อง) และโหมดขับเคลื่อนเป็นการถ่ายภาพต่อเนื่อง คุณจะสามารถถ่ายวัตถุเคลื่อนที่ได้อย่างไม่สะดุด
การเลือกองค์ประกอบ

            หากคุณคุ้นเคยกับการถ่ายภาพต่อเนื่องแล้ว ให้ลองเลือกองค์ประกอบด้วย ตามที่แสดงใน"1. ถ่ายภาพบุคคลอันน่าประทับใจโดยเน้นที่ตัวบุคคล" และ "9. จับของเล็กๆ มาทำหน้าที่หลัก" การจัดองค์ประกอบที่ได้สัดส่วนโดยทั่วไปก็คือ การจัดวางองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" (กฎสามส่วน) อย่างไรก็ตาม สำหรับฉากที่คุณต้องการแสดงชีวิตชีวาของช่วงเวลานั้นๆ ขอแนะนำให้จัดวางองค์ประกอบโดยให้วัตถุอยู่ตรงกลางเฟรม การจัดวางองค์ประกอบแบบนี้เหมาะสำหรับการแสดงพลังและจุดสำคัญของวัตถุให้ชัดเจน เมื่อถ่ายภาพกีฬา คุณสามารถตกแต่งให้ภาพถ่ายดูสวยงามให้ความรู้สึกสมจริงได้ด้วยการจับภาพระยะใกล้ของวัตถุหลักขณะเคลื่อนที่ไว้ตรงกลางเฟรม


ความยาวโฟกัส: 300 มม. / เลข F: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/2500 วินาที

          ตัวอย่างเหล่านี้เป็นภาพถ่ายที่จัดองค์ประกอบให้วัตถุอยู่กลางเฟรม การซูมที่วัตถุด้วยเลนส์ระยะไกลจะทำให้ภาพถ่ายถ่ายทอดพลังและความมีชีวิตชีวาของวัตถุออกมา นอกจากนี้ เนื่องจากวัตถุอยู่กลางเฟรม จึงดึงให้อยู่ในโฟกัสได้ง่ายยิ่งขึ้น

           เมื่อคุณถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนที่ สถานการณ์อาจเปลี่ยนไปอย่างมาก ณ ช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งแตกต่างจากการถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ดังนั้น สิ่งสำคัญสูงสุดก็คืออย่าพลาดโอกาสในการถ่ายภาพและถ่ายให้ได้มากที่สุด อันดับแรก ทำความคุ้นเคยกับการถ่ายภาพต่อเนื่อง และยังไม่ต้องสนใจเรื่ององค์ประกอบจนกว่าคุณจะมีเวลามากขึ้น นอกจากนี้คุณยังสามารถจัดองค์ประกอบภาพด้วยการตัดแต่งในคอมพิวเตอร์เมื่อกลับบ้านได้


ความยาวโฟกัส: 200 มม. / เลข F: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/1000 วินาที

การลองใช้เลนส์ระยะไกล
         
         ในการถ่ายภาพกีฬาดังเช่นตัวอย่างข้างบน การซูมเข้าไปที่วัตถุจะเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายทอดอารมณ์การเคลื่อนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสภาพแวดล้อมที่คุณต้องถ่ายจากระยะไกล เลนส์ระยะไกลก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น ขอแนะนำให้ใช้เลนส์ระยะไกลสำหรับผู้ที่มักถ่ายภาพการแข่งขันกีฬา ภาพนก และสัตว์ต่างๆ


ความยาวโฟกัส: 300 มม. / เลข F: 7.1 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/1600 วินาที

SAL70300G

          เลนส์ตระกูล G จะมอบการผสมผสานที่น่าสนใจของช่วงการซูมที่เพิ่มขึ้นพร้อมด้วยคุณภาพภาพอันยอดเยี่ยม ชิ้นเลนส์ ED จะให้ความผิดเพี้ยนของสีต่ำเป็นพิเศษด้วยความยาวโฟกัสสูงสุด 300 มม. ภาพระยะไกลของคุณจึงมีความชัดเจนและความลึกที่น่าประทับใจ SSM (Super Sonic wave Motor) มีการทำงานโฟกัสอัตโนมัติที่รวดเร็วและเงียบ ขณะที่สวิตช์ล็อคโฟกัสและสวิตช์ช่วงโฟกัสจะมอบการควบคุมการโฟกัสที่แม่นยำ ด้วยความสามารถในการโฟกัสได้ใกล้ถึง 1.2 ม. เลนส์ระยะไกลนี้จึงช่วยให้คุณสามารถเข้าใกล้เพื่อถ่ายบุคคลหรือรายละเอียดแบบใกล้ชิดได้


ความยาวโฟกัส: 208 มม. / เลข F: 6.3 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/320 วินาที

SEL55210

         เลนส์ซูม 3.8x ตั้งแต่ 55 มม. ไปจนถึง 210 มม. ให้คุณได้พบกับประสิทธิภาพที่สมบูรณ์อย่างต่อเนื่องของเลนส์ การป้องกันภาพสั่นไหวของ Optical SteadyShot ช่วยให้คุณสร้างสรรค์ภาพนิ่งที่คมชัดและวิดีโอในสภาพแสงน้อย หรือเมื่อซูมวัตถุที่อยู่ไกลได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้มอเตอร์ขับเคลื่อนภายในและการโฟกัสภายในก็ให้ AF ที่นุ่มนวลและตอบสนองรวดเร็วโดยที่มีสัญญาณรบกวนน้อย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายวิดีโอ

ที่มา: http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson12.html


เปลี่ยนฉากที่คุ้นเคยให้กลายเป็นงานศิลปะ

การพิจารณาองค์ประกอบและวิธีการครอบตัด
         ถ้าเป็นภาพสแน็ปช็อต คุณก็จะได้สนุกกับการถ่ายภาพแบบสบายๆ ไม่ต้องตั้งใจ อย่างไรก็ตามลองคำนึงถึงองค์ประกอบและวิธีการครอบตัดฉากนั้นๆ ดูบ้าง ขั้นแรก มาดูกันว่าจะครอบตัดฉากอย่างไร หากคุณเพียงหยิบกล้องออกมาแล้วถ่ายทันที ภาพที่ออกมาก็มักจะดูระเกะระกะด้วยวัตถุที่ไม่จำเป็นในเฟรม
ให้เลือกโฟกัสไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวแทนที่จะพยายามรวมเอาทุกอย่างไว้ในเฟรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายฉากชีวิตประจำวันสบายๆ
โดยทั่วไปแล้วสามารถตั้งค่ามุมมอง (ความยาวโฟกัส) ให้ใกล้เคียงกับลานสายตา (Visual Field) ของมนุษย์ได้โดยการย้ายตำแหน่งซูมไปทางระยะไกลเล็กน้อย หมั่นใช้ซูมเมื่อถ่ายสแน็ปช็อต


ความยาวโฟกัส: 35 มม. / เลข F: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/1000 วินาที / การชดเชยแสง: +1
สมดุลสีขาว: แสงแดดในร่ม / สร้างสรรค์ภาพถ่าย: ทิวทัศน์ (ความเปรียบต่าง: +3, ความอิ่มตัว: -3)

         ถ่ายด้วยเลนส์ซูมปกติ SEL1855 ที่ความยาวโฟกัส 35 มม. ภาพนี้ถูกครอบตัดโดยให้ธงเป็นวัตถุหลัก เมื่อเลื่อนตำแหน่งซูมไปทางระยะไกลเล็กน้อย ก็จะทำให้เกิดสัดส่วนที่ดีระหว่างขนาดของธงกับขนาดและความลึกของอาคารที่อยู่รอบๆ


ความยาวโฟกัส: 23 มม.

          ภาพนี้ถ่ายที่ด้านมุมกว้าง โดยลองรวมวัตถุหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน เช่น อาคารและโคมไฟถนน พื้นที่ส่วนใหญ่ในเฟรมจึงเป็นอาคารและพื้น และธงที่สำคัญก็ปรากฏในขนาดเล็กๆ เป็นเบื้องหลังเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับภาพนี้ ภาพแรกซึ่งจับภาพธงให้มีขนาดใหญ่ทางด้านระยะไกลจะดูน่าประทับใจมากกว่า


ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 8.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/250 วินาทีความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 8.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/1000 วินาที

        ตัวอย่างทั้งสองภาพด้านบนถ่ายที่ความยาวโฟกัส 50 มม. การครอบตัดมากๆ เช่นนี้ก็น่าสนใจสำหรับบางฉาก

         ภาพเหล่านี้คือการถ่ายฉากต่างๆ ในระยะใกล้ด้วยเลนส์ซูมระยะใกล้ขณะเดินอยู่บนถนน การจับภาพส่วนเล็กๆ ของฉากให้เต็มพื้นที่ในเฟรมภาพจะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ชมได้จินตนาการถึงบรรยากาศที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในภาพ


ความยาวโฟกัส: 57 มม. / เลข F: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาทีความยาวโฟกัส: 300 มม. / เลข F: 11 / ความเร็วชัตเตอร์: 2.5 วินาที

        องค์ประกอบของภาพมีชนิดต่างๆ ทั่วไป เช่น "Rule of Thirds" (กฎสามส่วน) และองค์ประกอบทแยงมุม อย่างไรก็ตาม หากคุณตั้งใจใช้การจัดองค์ประกอบเหล่านั้นมากเกินไป ภาพของคุณจะขาดความมีเอกลักษณ์และไม่น่าสนใจ เพียงใช้องค์ประกอบเหล่านั้นไว้สำหรับอ้างอิงเมื่อไม่สามารถจัดองค์ประกอบได้ และค้นหาองค์ประกอบและความรู้สึกที่คุณชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณออกไปข้างนอกหรือออกไปเดินเล่น ถ่ายภาพแล้วคุณชอบ คือสิ่งสำคัญในการสร้างงานศิลปะของคุณเอง

        หากคุณสามารถใช้ประโยชน์จากการซูมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุณจะสามารถครอบตัดฉากที่คุ้นเคยและสร้างงานศิลปะอันน่าประทับใจได้ แม้คุณอาจจะไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่หวังไว้ในครั้งแรก ให้คุณลองใช้ซูมอย่างตั้งใจ และจับความรู้สึกของคุณเอง


ความยาวโฟกัส: 11 มม. / เลข F: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/160 วินาที

การใช้เอฟเฟกต์ภาพ

       หากคุณต้องการเพิ่มการตกแต่งที่ไม่เหมือนใครให้กับภาพถ่ายของคุณ ให้ลองใช้ฟังก์ชันเอฟเฟกต์ภาพ
คุณสามารถถ่ายภาพสไตล์เรโทรหรือภาพงานศิลปะ เช่น ภาพวาด ด้วยการใช้เอฟเฟกต์ภาพได้โดยไม่ต้องรีทัชบนคอมพิวเตอร์ (*) กล้อง α มีเอฟเฟกต์มากมาย และต่อไปนี้คือตัวอย่างเอฟเฟกต์บางส่วน
(*) ชนิดของเอฟเฟกต์ที่มีในเอฟเฟกต์ภาพจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง

        ขาวดำความเปรียบต่างสูง จะช่วยให้คุณถ่ายภาพขาวดำที่มีความเปรียบต่างสูงได้ราวกับถ่ายด้วยฟิล์มขาวดำ เหมาะที่สุดสำหรับการถ่ายทอดภาพท้องถนนให้ดูมีพลัง นอกจากนี้ ในสภาวะที่ภาพถ่ายสีดูไม่น่าประทับใจ เช่น ในวันฝนตกหรือมีเมฆ การใช้เอฟเฟกต์นี้จะเนรมิตให้ภาพถ่ายของคุณกลายเป็นงานศิลปะได้


ขาวดำความเปรียบต่างสูง

            ภาพโทนสว่างนุ่มนวล ช่วยให้คุณถ่ายภาพที่นุ่มนวลและมีสีซีดพร้อมด้วยแสงเงาสีฟ้าเล็กน้อย เอฟเฟกต์นี้จะตกแต่งให้ภาพถ่ายดูสวยงามหรือเหมือนในความฝัน โดยไม่คำนึงถึงวัตถุ


โทนสว่าง

         สีบางส่วน จะสร้างภาพที่รักษาสีที่ต้องการไว้และแปลงสีอื่นๆ ให้กลายเป็นสีขาวดำ ด้วยการใช้เอฟเฟกต์นี้ แม้ภาพถ่ายของผ้าที่ซักไว้ก็กลายเป็นงานศิลปะอันทันสมัยได้ในทันที นอกจากนี้การใช้เอฟเฟกต์นี้กับดอกไม้และสิ่งของเล็กๆ ก็สร้างงานศิลปะที่น่าสนใจได้


สีบางส่วน (น้ำเงิน)

         ยังมีเอฟเฟกต์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น "กล้องทอย" "มินิเอเจอร์" "ภาพแนวเรโทร" และ "โปสเตอร์ไรเซชัน (สี)" ลองใช้เอฟเฟกต์หลายๆ แบบสำหรับการถ่ายฉากสบายๆ ในชีวิตประจำวันของคุณ


กล้องของเล่น


จำลองขนาดเล็ก


ภาพเก่า


โปสเตอร์ไรเซชัน (สี)

ลองใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่
         เนื่องจากเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่สามารถทำให้ฉากหลังพร่ามัวได้อย่างยอดเยี่ยม เลนส์เหล่านี้จึงช่วยเปลี่ยนภาพสแน็ปช็อตหรือทิวทัศน์ที่คุณคุ้นเคยให้กลายเป็นงานศิลปะที่ไม่เหมือนใคร นอกจากนี้ยังยอมให้แสงปริมาณมากเข้ามายังกล้อง จึงมีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพในที่ร่มหรือท้องถนนยามค่ำคืน


ความยาวโฟกัส: 35 มม. / เลข F: 2.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/640 วินาที


SAL35F18

         มุมมอง 35 มม.ของเลนส์รุ่นนี้เหมาะสำหรับวัตถุที่มีช่วงกว้างมากๆ ขณะที่ช่องรับแสงสูงสุด F1.8 ขนาดใหญ่ก็สว่างเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือในสภาวะแสงน้อย และสามารถสร้างเอฟเฟกต์ทำให้ฉากหลังพร่ามัวอย่างนุ่มนวล ซึ่งช่วยเพิ่มความลึกและความงดงามทางศิลปะให้กับภาพของคุณ


ความยาวโฟกัส: 35 มม. / เลข F: 11 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/400 วินาที


SEL35F18

        ประสิทธิภาพสูงและรูปลักษณ์กะทัดรัดทำให้เลนส์นี้กลายเป็นเลนส์สำรองในฝันที่พกพาได้ง่าย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับภาพถ่ายหลายแนว ซึ่งรวมถึงสแน็ปช็อตขณะเดินเล่น ภาพถ่ายกลางคืน และภาพบุคคลที่มีฉากหลังพร่ามัวได้อย่างสวยงาม

ที่มา: http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson10.html



จับภาพทิวทัศน์ให้ดูมีชีวิตชีวา

การถ่ายภาพโดยใช้ช่องรับแสงที่เล็กลง
       อันดับแรก ให้ใช้ช่องรับแสงที่เล็กลงเพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ การตั้งค่าช่องรับแสงให้ตั้งที่ประมาณ F8 จะทำให้โฟกัสทั้งภาพได้อย่างคมชัด อย่างไรก็ตามค่าที่แนะนำอาจแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับสภาวะในการถ่ายภาพหรือเลนส์
โดยทั่วไปแล้ว หากคุณต้องการถ่ายภาพให้คมชัดโดยที่มีความเปรียบต่างสูง ให้คุณเพิ่มเลข F ในทางกลับกัน หากคุณต้องการเพิ่มสัมผัสที่นุ่มนวลให้กับทั้งภาพ ให้คุณลดเลข F

         ภาพนี้ดูคมชัดทั้งต้นสนที่อยู่ด้านหน้าและท้องฟ้าที่อยู่เบื้องหลังด้วยการถ่ายโดยตั้งช่องรับแสงไว้ที่ F9.0 หากเลข F เล็กต่ำไป ภาพที่ได้ก็มีแนวโน้มที่จะไม่คมชัด โดยที่จะโฟกัสเฉพาะต้นไม้หรือท้องฟ้าเพียงอย่างเดียว


ความยาวโฟกัส: 16 มม. / เลข F: 9.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/30 วินาที

การจับภาพช่วงกว้างในด้านมุมกว้าง
          หากคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วยเลนส์ซูม คุณสามารถจับภาพช่วงกว้างๆ ของฉากได้โดยการใช้ด้านมุมกว้าง (ใช้ความยาวโฟกัสที่สั้นลง) ของเลนส์ นอกจากนี้ หากคุณถ่ายภาพทิวทัศน์พร้อมกับท้องฟ้า การเติมเต็มพื้นที่ใหญ่ๆ ด้วยท้องฟ้าก็จะเพิ่มความน่าประทับใจยิ่งขึ้น และถ่ายทอดพลังของฉากนั้นๆ ออกมา

           ภาพนี้ถ่ายที่ด้านมุมกว้างของเลนส์ซูม แม้ว่าวัตถุหลักคือมหาสมุทร แต่บรรยากาศก็งดงามยิ่งขึ้นด้วยการเติมเต็มพื้นที่ใหญ่ๆ ด้วยท้องฟ้าและก้อนเมฆ แทนการถ่ายเฉพาะมหาสมุทรไว้ทั้งเฟรม


ความยาวโฟกัส: 16 มม. / เลข F: 11 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/800 วินาที

วิธีการเพิ่มความคมชัดและความสด
          หากคุณต้องการปรับให้ทิวทัศน์หรือก้อนเมฆดูคมชัดและมีสีสดยิ่งขึ้น ให้เปลี่ยนการตั้งค่า สร้างสรรค์ภาพถ่าย การตั้งค่าเป็น [ทิวทัศน์] จะช่วยปรับความเปรียบต่างและความอิ่มตัว และช่วยตกแต่งความลึกของภาพได้อีกด้วย หากคุณต้องการความเปรียบต่างของสีหรือเงาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มความน่าประทับใจให้กับภาพ ให้ปรับ "ความอิ่มตัว" และ "ความเปรียบต่าง" จากการตั้งค่าตัวเลือก โดยแต่ละพารามิเตอร์จะปรับละเอียดได้ ± 3 ขั้น


[1]สร้างสรรค์ภาพถ่าย: มาตรฐาน[2]สร้างสรรค์ภาพถ่าย: ทิวทัศน์
ความอิ่มตัว: +2 ความเปรียบต่าง: +2

         ภาพถ่ายเหล่านี้ถ่ายโดยใช้การตั้งค่าสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่แตกต่างกัน ภาพ [1] ถ่ายโดยใช้ [มาตรฐาน] ขณะที่ภาพ [2] ถ่ายโดยใช้ [ทิวทัศน์] โดยที่ปรับ "ความอิ่มตัว" และ "ความเปรียบต่าง" จากการตั้งค่าตัวเลือก ผลที่ได้ก็คือท้องฟ้าและสีสันของใบไม้ดูสดใสและทรงพลัง
อย่างไรก็ตาม ให้ระวังไม่ให้เพิ่มความเปรียบต่างและความอิ่มตัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้ภาพถ่ายดูเหมือนกับภาพวาดเนื่องจากความอิ่มตัวของสี
ลองใช้เลนส์มุมกว้าง
 
          ในการถ่ายภาพที่เปี่ยมชีวิตชีวาด้วยมุมมองที่กว้างขึ้น ขอแนะนำให้ใช้เลนส์มุมกว้าง
เลนส์มุมกว้างจะสามารถจับภาพฉากต่างๆ ในช่วงที่กว้างกว่าสายตาของมนุษย์ จึงช่วยให้คุณเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพที่ไม่ซ้ำใครในการถ่ายสแน็ปช็อต หรือการถ่ายภาพท้องถนน ตลอดจนภาพถ่ายทิวทัศน์


ความยาวโฟกัส: 11 มม. / เลข F: 10 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที 


SAL1118

        เลนส์รุ่นนี้จะให้ความยาวโฟกัสที่จำเป็นสำหรับที่ร่มมากๆ และภาพถ่ายสถาปัตยกรรม ตลอดจนสถานการณ์อื่นๆ ที่ต้องการถ่ายครอบคลุมพื้นที่ในมุมกว้าง
ตัวเลนส์จะมีกระจก ED และชิ้นเลนส์ Aspherical ที่ลดแสงจ้าและความผิดเพี้ยนของสี เพื่อให้ภาพมีความคมชัดและความเปรียบต่างสูงแม้อยู่ภายใต้สภาพแสงที่ไม่เอื้ออำนวย


ความยาวโฟกัส: 10 มม. / เลข F: 11 / ความเร็วชัตเตอร์: 2.5 วินาที


SEL1018

         เลนส์ซูมมุมกว้างแบบพิเศษ 10-18 มม. รุ่นนี้เหมาะที่สุดสำหรับภาพทิวทัศน์กว้าง รวมถึงทัศนียภาพที่เน้นรายละเอียดพร้อมวัตถุ
ชิ้นเลนส์ Aspherical และกระจก ED ที่มีการออกแบบให้มีความแม่นยำในการรับแสงช่วยให้มีความละเอียดและความเปรียบต่างอันน่าทึ่งทั่วทั้งภาพ
ด้วยช่องรับแสงสูงสุดคงที่ F4 ตลอดช่วงความยาวโฟกัส คุณจึงสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากช่องรับแสงที่สว่างเพื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงแม้ในสภาวะที่มีแสงน้อย

ที่มา: http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson3.html



ถ่ายภาพอาหารให้น่าอร่อย

การสร้างสีสันอย่างที่คุณต้องการ
        สีสันและความสว่างคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ภาพถ่ายอาหารและของหวานดูน่ารับประทาน
อันดับแรก ให้ปรับสีด้วยสมดุลสีขาว สมดุลสีขาวคือฟังก์ชันสำหรับการปรับมาตรฐานของ "สีขาว" แต่ยังสามารถใช้เป็นฟิลเตอร์สีในกล้องดิจิตอลได้อีกด้วย ขั้นแรก ให้ถ่ายภาพโดยใช้สมดุลสีขาวอัตโนมัติ [AWB] เพื่อดูว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ จากนั้นลองใช้ [แสงแดดกลางวัน] หรือ [แสงแดดมีเมฆ] หากจำเป็น หากต้องการหาสีเพิ่มเติม ฟังก์ชันการปรับละเอียดสำหรับสมดุลสีขาวก็ได้ผลดี
        โดยทั่วไปแล้ว อาหารจะดูน่ารับประทานยิ่งขึ้นเมื่อถ่ายด้วยสีโทนอุ่นเล็กน้อย (สีแดง)

         ภาพถ่ายเหล่านี้ถูกถ่ายโดยใช้การตั้งค่าสมดุลสีขาวแตกต่างกัน ภาพที่ถ่ายด้วย [AWB] ภาพ [1] จะดูขาวกว่าภาพจริงเนื่องจากแสงในร้านอาหาร ภาพ [2] ถ่ายโดยใช้ [แสงแดดกลางวัน] สีที่อุ่นขึ้นจะช่วยเพิ่มความน่าอร่อยให้กับภาพถ่าย


[1]สมดุลสีขาว: AWB[2]สมดุลสีขาว: แสงแดดกลางวัน
การพิจารณามุมของแสง
        มุมของแสงและความสว่างถือเป็นจุดสำคัญด้วย อาหารจะดูน่าอร่อยยิ่งขึ้นเมื่อถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหลัง เมื่อถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหน้า รูปร่างและสีของอาหารจะถูกปรับอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามเนื่องจากแสงจะไม่สร้างเงาบนวัตถุหรือไม่เปล่งประกายผ่านวัตถุ ภาพที่ได้ก็จะขาดความลึกและดูราบเรียบ

        ภาพ [1] ถ่ายด้วยแสงด้านหน้า รูปร่างของขนมปังและผลไม้จะถูกถ่ายทอดออกมาอย่างชัดเจน แต่ภาพกลับดูราบเรียบเหมือนภาพธรรมดาๆ นอกจากนี้แฟลชโดยตรงยังสร้างแสงด้านหน้าได้ด้วย และภาพที่ได้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
         ภาพ [2] ถ่ายโดยใช้ไฟด้านหลัง เมื่อมีเงา ขนมปังก็ได้รับการปรับให้มีความลึก นอกจากนี้ ผลไม้และแก้ว น้ำดื่มก็ดูชุ่มฉ่ำยิ่งขึ้นด้วยแสงที่เปล่งประกายผ่านวัตถุ เพียงเปลี่ยนมุมของแสงก็สร้างความแตกต่างให้กับภาพได้อย่างมาก


[1] ถ่ายโดยใช้แสงด้านหน้า[2] ถ่ายโดยใช้แสงด้านหลัง

          อย่างไรก็ตาม หากคุณถ่ายโดยใช้แสงด้านหลัง วัตถุอาจดูมืดกว่าที่คาดไว้เนื่องจากพื้นหลังสว่าง ในกรณีนี้ ให้ใช้ฟังก์ชันการชดเชยแสง หากอาหารดูมืด ให้ปรับการเปิดช่องรับแสงไปทาง + เพื่อให้ดูสว่างขึ้น จุดสำคัญคือการปรับการเปิดช่องรับแสงตามความสว่างของตัวอาหาร ซึ่งหากฉากหลังจะดูขาวขึ้นเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร

          ในภาพ [3] อาหารดูมืดเนื่องจากแสงจ้าเข้ามาในเลนส์
              ภาพ [4] เป็นผลมาจากการใช้การชดเชยแสงภาพทางซ้าย ในตอนนี้อาหารก็ดูน่าอร่อยขึ้นด้วยการปรับการเปิดช่องรับแสงโดยยึดจากการปรับให้อาหารดูสว่างขึ้น


[3] การชดเชยแสง: 0[4] การชดเชยแสง: +1


การเปลี่ยนองค์ประกอบ

          หากคุณพยายามที่จะถ่ายอาหารทั้งจาน ก็จะจบลงด้วยภาพถ่ายที่ไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม หากคุณให้ความสำคัญกับการจัดองค์ประกอบอีกสักนิด คุณก็สามารถปรับบรรยากาศของภาพถ่ายให้ดีขึ้นได้
ในภาพด้านล่าง ภาพ [1] จับภาพอาหารทั้งจานจากตำแหน่งสายตาของช่างภาพ คุณจะเห็นส่วนต่างๆ ในจาน แต่ภาพที่ได้จะดูไม่มีมิติและดูไร้จุดหมาย นอกจากนี้ ของที่อยู่รอบๆ และเครื่องเงินในเฟรมก็ทำให้ดูรกตา

          วิธีการปรับก็คือ ภาพ [2] ถ่ายโดยเข้าใกล้อาหารให้มากที่สุด โดยจับภาพอาหารในระยะที่ใกล้มาก ซึ่งจะมีบางส่วนที่ไม่ได้อยู่ในเฟรม ภาพนี้จะให้ความรู้สึกสมจริงมากกว่า และถ่ายทอดความอร่อยของอาหารออกมาได้มากกว่า อีกทั้งฉากหลังก็ดูเป็นระเบียบกว่า
นอกจากนี้ ขอแนะนำให้ถ่ายภาพในแนวตั้งหรือแนวทแยง (โดยเอียงกล้อง) เนื่องจากจะแสดงความลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ


[1][2]

ลองใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่

          เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่มีประโยชน์สำหรับภาพถ่ายอาหาร เนื่องจากเลนส์รุ่นนี้สามารถทำให้ฉากหลังพร่ามัวได้อย่างดี นอกจากนี้ เนื่องจากเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่จะยอมให้แสงปริมาณมากเข้ามายังกล้อง จึงใช้ในการถ่ายภาพในที่ร่มที่มีแสงน้อยได้เป็นอย่างดี


ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 2.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/400 วินาที / การชดเชยแสง: +0.7


SAL50F18

       นี่คือเลนส์ระยะไกลปานกลางสำหรับกล้องรูปแบบ APS-C
เลนส์รุ่นนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคล ตลอดจนการจัดองค์ประกอบและแยกพื้นที่ของสิ่งที่สนใจไว้ในฉากที่กว้างยิ่งขึ้น
       ไม่เพียงแต่คุณจะสามารถแยกวัตถุที่ต้องการได้ด้วยการจัดองค์ประกอบเท่านั้น แต่คุณยังสามารถใช้ประโยชน์จากการออกแบบช่องรับแสงสูงสุด F1.8 ขนาดใหญ่และช่องรับแสง Circular เพื่อแยกวัตถุออกจากฉากหลังโดยใช้การทำให้พร่ามัวได้อีกด้วย
        ช่องรับแสงสูงสุดขนาดใหญ่ยังช่วยในการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย ซึ่งเป็นความสามารถที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพจากการป้องกันภาพสั่นไหวของ Optical SteadyShot ที่มีในตัวกล้องตระกูล α


ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 2.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที


SEL50F18

           นี่คือเลนส์ระยะไกลปานกลางที่มีความยาวโฟกัส 50 มม. ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพบุคคล
การออกแบบช่องรับแสงขนาดใหญ่และช่องรับแสง Circular จะสามารถสร้างฉากหลังพร่ามัวได้อย่างงดงาม
           นอกจากนี้ ด้วยการทำงานร่วมกันกับระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical SteadyShot จึงสามารถถ่ายภาพที่คมชัดภายใต้สภาวะแสงน้อยได้

ที่มา: http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson4.html



ถ่ายภาพอารมณ์ของท้องฟ้า

การปรับสีให้ได้ภาพแบบที่คุณชอบ
          ขั้นแรก ให้ปรับสีตามความพอใจของคุณด้วย สมดุลสีขาว เอฟเฟกต์ของสมดุลสีขาวจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเวลาและสภาพอากาศขณะถ่ายภาพ ลองใช้การตั้งค่าแต่ละแบบเพื่อหาสีที่คุณชื่นชอบ
ต่อไปนี้คือภาพของท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ถ่ายโดยใช้การตั้งค่าสมดุลสีขาว 3 แบบ


[แสงแดดกลางวัน][แสงแดดในร่ม][แสงหลอดไฟฟ้า]

             ขณะที่ภาพถ่ายที่ใกล้เคียงกับภาพจริงนั้นถ่ายด้วย [แสงแดดกลางวัน] การตั้งค่าเป็น [แสงแดดในร่ม] ก็ช่วยเพิ่มความอบอุ่นของแสงอาทิตย์ ในทางกลับกัน การตั้งค่าเป็น [แสงหลอดไฟฟ้า] จะเพิ่มแสงเงาสีฟ้าและสร้างบรรยากาศชวนฝัน
การเพิ่มความลึกของภาพ

             ไม่เพียงแต่การปรับสีเท่านั้น ความเปรียบต่างและความสว่างก็สามารถสร้างความแตกต่างของบรรยากาศในภาพได้อย่างมาก คุณสามารถปรับความเปรียบต่างได้ด้วย สร้างสรรค์ภาพถ่าย
              ตัวอย่างเช่น ภาพถ่าย [1] ด้านล่าง หากคุณต้องการเพิ่มความลึกและความเคลื่อนไหวของท้องฟ้าด้วยการปรับก้อนเมฆให้ดูชัดเจน ขอแนะนำให้ใช้ [ทิวทัศน์] การตั้งค่านี้จะเพิ่มความเปรียบต่างและความลึกในภาพ ในทางกลับกัน หากคุณต้องการปรับให้ท้องฟ้าในฤดูหนาวดูสงบเงียบดังภาพ [2] ขอแนะนำให้ตั้งค่าเป็น [มาตรฐาน] และลดค่า "ความอิ่มตัว" และ "ความเปรียบต่าง" จากการตั้งค่าตัวเลือก


[1] [ทิวทัศน์][2] [มาตรฐาน] ความอิ่มตัว: -2

             สุดท้าย ให้ลองเปลี่ยนความสว่าง คุณสามารถปรับความสว่างได้ด้วย การชดเชยแสง
ในตัวอย่างด้านล่าง การเปิดช่องรับแสงจะถูกปรับไปทางด้าน - เพื่อปรับสีให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและเพิ่มความเปรียบต่าง เนื่องจากการชดเชยแสงในระดับที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามสภาวะของท้องฟ้าและความพอใจส่วนบุคคล ให้ลองถ่ายหลายๆ รูปโดยใช้ระดับการชดเชยแสงที่ต่างกัน


การชดเชยแสง: 0การชดเชยแสง: -1

            การปรับการเปิดช่องรับแสงไปทางด้าน - จะช่วยเพิ่มความลึกของสีท้องฟ้า และตกแต่งให้ภาพมีความลึกเพิ่มขึ้น
ในทางกลับกัน การปรับไปทางด้าน + จะเหมาะอย่างยิ่งหากคุณต้องการภาพที่นุ่มนวลขึ้นโดยที่มีความเปรียบต่างต่ำลง
            ใช้ฟังก์ชันทั้ง 3 แบบนี้ ซึ่งได้แก่ สมดุลสีขาว สร้างสรรค์ภาพถ่าย และการเปิดช่องรับแสงเพื่อตกแต่งงานของคุณในแบบที่คุณชอบ
ลองใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ซิงแบบ Circular
             หากคุณใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ซิงแบบ Circular จะสามารถป้องกันแสงสะท้อนในอากาศได้ จึงช่วยปรับให้ท้องฟ้าสีฟ้าและใบไม้สีเขียวสดใสยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังลดการสะท้อนจากพื้นผิวน้ำหรือกระจกอีกด้วย




           ไม่ใช่ฟิลเตอร์ใช้ฟิลเตอร์ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ซิงแบบ Circular นี้จะลดการสะท้อนจากกระจกหรือน้ำที่ไม่ต้องการได้ ช่วยเพิ่มความเป็นมืออาชีพให้กับภาพถ่ายของคุณ นอกจากนี้ยังมีการเคลือบ Carl Zeiss T* เพื่อลดแสงจ้าและเงา

ที่มา: http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson6.html


จับภาพโลกระดับไมโคร

กฎพื้นฐาน: เข้าใกล้และถ่ายในด้านระยะไกล
          คุณสามารถจับภาพวัตถุขยายได้ด้วยเลนส์ซูม แม้ว่าเทียบไม่ได้กับเลนส์มาโครก็ตาม
ในการจับภาพระยะใกล้ของวัตถุและทำให้บริเวณอื่นๆ พร่ามัว ให้ระลึกถึงกฎเหล็กสองข้อ ได้แก่ "ให้เข้าใกล้วัตถุให้มากที่สุด" และ "ถ่ายในด้านระยะไกล (โดยใช้ความยาวโฟกัสยาวขึ้น) ของเลนส์" นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำแนะนำนี้สำหรับ "1. ถ่ายภาพบุคคลอันน่าประทับใจโดยเน้นที่ตัวบุคคล" "2. มอบสัมผัสที่นุ่มนวลให้กับการถ่ายภาพดอกไม้" ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เลนส์จะมีระยะโฟกัสขั้นต่ำซึ่งจำกัดระยะที่คุณจะสามารถเข้าใกล้วัตถุได้ และหากคุณเข้าใกล้วัตถุมากกว่าระยะดังกล่าว วัตถุจะไม่ถูกโฟกัส เลนส์ที่มีระยะโฟกัสขั้นต่ำสั้นมากๆ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเข้าใกล้วัตถุได้เป็นอย่างมากนั้นเรียกว่า "เลนส์มาโคร" เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์มาโครจะอธิบายในครึ่งหลังของบทนี้


เลนส์: SEL1855 / ความยาวโฟกัส: 55 มม. / เลข F: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที

           ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 55 มม. ด้วยเลนส์ซูม "SEL1855" ซึ่งรวมอยู่ในชุดเลนส์ซูม NEX-F3 ภาพนี้คือระดับการขยายที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถทำได้เมื่อใช้เลนส์ซูมปกติ
ในทางกลับกัน หากคุณถ่ายภาพด้วยเลนส์มาโคร คุณจะสามารถขยายส่วนของวัตถุได้ดังภาพด้านล่าง


เลนส์: SEL30M35 / ความยาวโฟกัส: 30 มม. / เลข F: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/160 วินาที

           ภาพระยะใกล้ของเกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้ของดอกไม้ภาพนี้ถ่ายโดยใช้เลนส์มาโคร E-mount "SEL30M35" ซึ่งความสามารถในการถ่ายภาพเช่นนี้คือคุณสมบัติของเลนส์มาโคร

           นอกจากนี้คุณยังสามารถถ่ายภาพระยะใกล้ของส่วนของวัตถุโดยใช้เลนส์ซูมที่อัตรากำลังขยายสูงได้ด้วย แม้ว่าจะไม่สามารถเทียบกับเลนส์มาโครก็ตาม ภาพด้านล่างถ่ายที่ 200 มม. ด้านระยะไกลสุดของเลนส์ซูม E-mount "SEL18200" หลังจากที่เข้าใกล้วัตถุให้มากที่สุดแล้ว เลนส์ซูมกำลังขยายสูงจะช่วยให้คุณเพลิดเพลินกับอารมณ์ของภาพที่หลากหลาย ไม่เพียงถ่ายวัตถุระยะไกลเท่านั้น แต่ยังจับภาพระยะใกล้ของวัตถุได้คล้ายกับเลนส์มาโคร ดังเช่นภาพถ่ายด้านล่าง ขอแนะนำวิธีนี้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการลองถ่ายภาพมาโครแต่ยังลังเลที่จะใช้เลนส์เฉพาะ


เลนส์: SEL18200 / ความยาวโฟกัส: 200 มม. / เลข F: 6.3 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/640 วินาที

การถ่ายภาพด้วยเลนส์มาโคร
          ในส่วนนี้จะแสดงให้คุณได้ทราบถึงเทคนิคบางประการในการใช้เลนส์มาโคร
สำหรับ "การถ่ายภาพมาโคร" หรือการถ่ายภาพขยายของวัตถุขนาดเล็กนั้น ไม่มีสิ่งใดที่ดีไปกว่าการใช้เลนส์มาโครโดยเฉพาะ เลนส์มาโครมีระยะโฟกัสขั้นต่ำที่สั้นมากๆ เมื่อเทียบกับเลนส์ชนิดอื่นๆ และช่วยให้คุณได้เข้าใกล้วัตถุได้เป็นอย่างมาก "SEL30M35" สำหรับ E-mount และ "SAL30M28" สำหรับ A-mount นั้นเหมาะที่สุดสำหรับการเป็นเลนส์มาโครอันแรกของคุณ


ถ่ายภาพด้วยเลนส์มาโคร SAL30M28 ความยาวโฟกัส :30 มม. / เลข F:2.8ถ่ายภาพด้วยเลนส์มาโคร SAL50M28 ความยาวโฟกัส :50 มม. / เลข F:4.0

         เลนส์มาโครช่วยให้ถ่ายภาพวัตถุได้เต็มทั้งเฟรม และถ่ายภาพที่น่าสนใจที่เลนส์ชนิดอื่นไม่สามารถทำได้
         นอกจากนี้ เลข F ของเลนส์มาโครยังมากกว่าเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่อื่นๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าใกล้วัตถุให้มากที่สุด เลนส์มาโครก็สามารถสร้างฉากหลังพร่ามัวได้ดีเทียบเท่ากับเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่ที่มีเลข F น้อย สำหรับรายละเอียด โปรดดู ปัจจัยของภาพพร่ามัว ยิ่งเข้าใกล้วัตถุเท่าไรความพร่ามัวจะยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้นคุณจึงสามารถถ่ายภาพที่ทั้งฉากหน้าและฉากหลังพร่ามัว เหมือนภาพถ่ายด้านบนได้

          ภาพนี้คือภาพระยะใกล้ของเครื่องประดับขนาดเล็กที่มีฉากหลังพร่ามัว เนื่องจากเลนส์มาโครช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนมุมการถ่ายภาพและองค์ประกอบได้อย่างยืดหยุ่น เลนส์ชนิดนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายสิ่งของขนาดเล็ก
          หากคุณถ่ายภาพแบบให้วัตถุเต็มเฟรมด้วยเลนส์มาโคร การโฟกัสในจุดที่ต้องการนั้นอาจเป็นเรื่องยาก ในกรณีนี้ ให้ใช้โหมด ปรับโฟกัสแมนนวล (MF) เพื่อโฟกัสในจุดที่ต้องการด้วยตนเอง การทำงานสำหรับการเปลี่ยนเป็นโหมด MF นั้นแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกล้องแต่ละรุ่น สำหรับรายละเอียด โปรดดูคู่มือการใช้งานหรือหนังสือคู่มือสำหรับกล้องของคุณ นอกจากนี้คุณควรระมัดระวังหลังจากการโฟกัส เนื่องจากวัตถุถูกขยายด้วยระดับความพร่ามัวสูง การขยับตัวเพียงเล็กน้อยของคุณก็สามารถทำให้ตำแหน่งโฟกัสเปลี่ยนไปได้มาก หากเป็นไปได้ ขอแนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้องในการยึดให้กล้องมั่นคงเพื่อตรึงโฟกัสไว้ในจุดที่ต้องการ


เลนส์: SEL30M35 / ความยาวโฟกัส: 30 มม. / เลข F: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที

เลนส์มาโครที่แนะนำสำหรับผู้ที่เริ่มต้น
         หากคุณลองใช้เลนส์มาโครเป็นครั้งแรก ขอแนะนำให้ใช้ "SAL30M28" สำหรับ A-mount และ "SEL30M35" สำหรับ E-mount เลนส์ที่กล่าวมานี้จะให้ภาพที่มีมุมมองไม่น่าอึดอัดและแสดงภาพได้อย่างดีเยี่ยม


ความยาวโฟกัส: 30 มม. / เลข F: 6.3 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/13 วินาที


SAL30M28

           เลนส์รุ่นนี้จะช่วยให้คุณเข้าใกล้วัตถุได้ในระยะ 2 ซม. เพื่อถ่ายภาพมาโครที่มีกำลังขยายสูงสุด 1:1 รายละเอียดที่คุณโฟกัสจะคมชัดได้อย่างน่าอัศจรรย์ ขณะที่ฉากหลังที่ไม่ได้โฟกัสจะถูกละลายกลายเป็นภาพเบลอนวลตาซึ่งขับเน้นให้รายละเอียดดูโดดเด่น


ความยาวโฟกัส: 30 มม. / เลข F: 4.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/500 วินาที


SEL30M35

            เลนส์นี้ให้ความสามารถระดับมาโครประสิทธิภาพสูงแบบอเนกประสงค์ในรูปลักษณ์ที่กะทัดรัดและน้ำหนักเบา นับเป็นเลนส์มาโครระดับ 1:1 อย่างแท้จริงที่มีระยะการทำงานขั้นต่ำ 2.4 ซม. ซึ่งช่วยปรับให้วัตถุและรายละเอียดขนาดเล็กมีความละเอียดและความเปรียบต่างที่ดีเยี่ยม
ที่มา: http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson8.html



จับของเล็กๆ มาเล่นบทบาทหลัก

กฎพื้นฐาน: เข้าใกล้และถ่ายในด้านระยะไกล
           เมื่อคุณถ่ายสิ่งของขนาดเล็กเป็นวัตถุหลัก ให้ละลายฉากหลังเพื่อเน้นให้วัตถุดูเด่น
ในการจับภาพระยะใกล้ของวัตถุและทำให้บริเวณอื่นๆ พร่ามัวนั้น การ "เข้าใกล้วัตถุให้มากที่สุด" และ "ถ่ายภาพด้านระยะไกล (โดยใช้ความยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น) ของเลนส์ซูม" คือกฎเหล็ก ดังที่แนะนำไว้ใน "1. ถ่ายภาพบุคคลอันน่าประทับใจโดยเน้นที่ตัวบุคคล" "8. จับภาพโลกระดับไมโคร" ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การเติมเต็มทั้งเฟรมด้วยวัตถุอาจไม่สามารถถ่ายทอดลักษณะเฉพาะของสิ่งของเล็กๆ ได้ดีนัก ในกรณีดังกล่าว ให้ถ่ายภาพสองสามภาพซ้ำๆ ขณะเดียวกันให้ขยับกล้องออกทีละน้อย

            ภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์ซูม "SEL1855" ซึ่งรวมอยู่ในชุดเลนส์ซูม NEX-F3 ในการทำให้ฉากหลังพร่ามัวจะตั้งความยาวโฟกัสไว้ที่ระยะไกลสุด 55 มม. ซึ่งการโฟกัสที่สิ่งของเล็กๆ และการถ่ายภาพจากระดับเดียวกับตำแหน่งของสิ่งนั้นๆ จะเน้นวัตถุให้เด่นโดยที่ฉากหลังพร่ามัว
นอกจากนี้ เลนส์มาโครยังมีประโยชน์เมื่อถ่ายภาพสิ่งของขนาดเล็กอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์ชนิดอื่นๆ เลนส์มาโครจะช่วยให้คุณเข้าใกล้วัตถุได้อย่างมาก ดังนั้น คุณจึงสามารถถ่ายเครื่องประดับขนาดเล็ก เช่น แหวน สร้อยคอ และต่างหูในระยะใกล้ได้


เลนส์: SEL1855 / ความยาวโฟกัส: 55 มม. / เลข F: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที

ภาพถ่ายสร้อยคอถ่ายด้วยเลนส์มาโคร
           นอกเหนือจากความสามารถในการถ่ายภาพระยะใกล้ ข้อดีอีกประการหนึ่งของเลนส์มาโครก็คือสามารถเข้าใกล้วัตถุได้เกือบไม่จำกัด เมื่อใช้เลนส์มาโคร คุณสามารถเลือกมุม องค์ประกอบ และขนาดของวัตถุได้อย่างยืดหยุ่นแม้ในพื้นที่จำกัด เช่น บนโต๊ะหรือในห้องเล็กๆ


เลนส์: SAL100M28 / ความยาวโฟกัส: 100 มม. / เลข F: 7.1 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/13 วินาที

การพิจารณาองค์ประกอบ
         ให้ความใส่ใจกับการจัดวางองค์ประกอบก่อนปล่อยชัตเตอร์
หากช่างภาพมือใหม่ปล่อยชัตเตอร์แบบไม่ได้ตั้งใจ วัตถุหลักก็มักจะถูกจัดวางไว้กลางเฟรม การจัดวางองค์ประกอบแบบนี้สามารถแสดงถึงพลังและจุดสำคัญของวัตถุได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เมื่อถ่ายภาพสิ่งของเล็กๆ สิ่งที่ยากก็คือการใช้พื้นที่สำหรับการแสดงอารมณ์และจังหวะของภาพ
สำหรับการถ่ายภาพสิ่งของเล็กๆ ขอแนะนำให้ใช้การจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" (กฎสามส่วน) หรือองค์ประกอบทแยงมุม.


ความยาวโฟกัส: 100 มม. / เลข F: 2.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที

การจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds"
           นี่คือตัวอย่างของการจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" ในการจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" เฟรมจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน (แนวนอน 3 x แนวตั้ง 3) และวัตถุหลักจะถูกจัดวางไว้ที่จุดตัดของเส้นแบ่ง ในตัวอย่างข้างบน สิ่งของหลักขนาดเล็กวางอยู่ที่จุดตัดด้านขวาบน การวางวัตถุหลักไว้ที่ตำแหน่งนี้ ภาพจะดูนิ่งมากขึ้น โดยความสมดุลที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นจากลายผ้าในบริเวณที่ว่าง อย่างไรก็ตามในทางตรงข้าม หากคุณใช้การจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" กับทุกภาพอาจทำให้เกิดความจำเจได้ ดังนั้น ขอแนะนำให้ใช้การจัดองค์ประกอบแบบนี้สำหรับอ้างอิงเมื่อคุณไม่สามารถจัดองค์ประกอบได้เท่านั้น


ความยาวโฟกัส: 30 มม. / เลข F: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/20 วินาที

องค์ประกอบทแยงมุม
         การจัดองค์ประกอบอีกแบบหนึ่งที่แนะนำสำหรับการถ่ายสิ่งของขนาดเล็กก็คือองค์ประกอบทแยงมุม ดังเช่นภาพข้างบน หากวัตถุแบบหรือลายเดียวกัน เรียงติดกัน หรือหากมีลายริ้ว ให้จัดเรียงในแนวทแยงของเฟรมเพื่อให้เกิดองค์ประกอบชนิดนี้
องค์ประกอบทแยงมุมสามารถเพิ่มความรู้สึกของจังหวะและชวนให้ผู้ชมจินตนาการถึงความกว้างของฉากที่อยู่นอกเฟรมได้


ความยาวโฟกัส: 18 มม. / เลข F: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/400 วินาที

องค์ประกอบทแยงมุม
          นอกจากนี้ภาพนี้ยังเป็นตัวอย่างขององค์ประกอบทแยงมุมอีกด้วย มาคารูนหลากสีถูกจัดวางอย่างมีจังหวะในภาพ วิธีนี้ องค์ประกอบทแยงมุมจะสร้างจังหวะและทัศนมิติ แต่อาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สมดุลและอึดอัด แทนที่จะใช้การจัดองค์ประกอบเพียงแบบเดียว ให้ลองใช้การจัดองค์ประกอบที่หลากหลาย สำหรับตัวอย่างมาคารูนข้างบน การถ่ายภาพจากด้านบนของมาคารูนโดยตรงจะสามารถสร้างภาพถ่ายที่น่าสนใจได้
การลองใช้เลนส์มาโคร
            หากคุณถ่ายภาพสิ่งของขนาดเล็กหรือดอกไม้อยู่บ่อยครั้ง การใช้เลนส์มาโครจะช่วยเพิ่มการแสดงอารมณ์ของภาพได้เป็นอย่างดี หากคุณลองใช้เลนส์มาโครเป็นครั้งแรก ขอแนะนำให้ใช้ "SAL30M28" สำหรับ A-mount และ "SEL30M35" สำหรับ E-mount เลนส์ที่กล่าวมานี้จะมีมุมมองที่สะดวกและแสดงประสิทธิภาพได้อย่างดีเยี่ยม


ความยาวโฟกัส: 30 มม. / เลข F: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/50 วินาที


SAL30M28

          เลนส์รุ่นนี้จะช่วยให้คุณเข้าใกล้วัตถุได้ในระยะ 2 ซม. เพื่อถ่ายภาพมาโครที่มีกำลังขยายสูงสุด 1:1 รายละเอียดที่คุณโฟกัสจะคมชัดได้อย่างน่าอัศจรรย์ ขณะที่ฉากหลังที่ไม่ได้โฟกัสจะถูกละลายกลายเป็นภาพเบลอนวลตาซึ่งขับเน้นให้รายละเอียดดูโดดเด่น


ความยาวโฟกัส: 30 มม. / เลข F: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที


SEL30M35

            เลนส์นี้ให้ความสามารถระดับมาโครประสิทธิภาพสูงแบบอเนกประสงค์ในรูปลักษณ์ที่กะทัดรัดและน้ำหนักเบา นับเป็นเลนส์มาโครระดับ 1:1 อย่างแท้จริงที่มีระยะการทำงานขั้นต่ำ 2.4 ซม. ซึ่งช่วยปรับให้วัตถุและรายละเอียดขนาดเล็กมีความละเอียดและความเปรียบต่างที่ดีเยี่ยม

ที่มา: http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson9.html



การถ่ายภาพสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง

พิจารณาทิศทางของแสง
        ก่อนตั้งค่ากล้อง ให้ดูวิธีการใช้ประโยชน์จากแสงเป็นอันดับแรก เมื่อถ่ายภาพใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง ภาพที่ได้จะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับทิศทางของแสง เวลาของวัน และอากาศ
ในวันที่อากาศแจ่มใส สามารถจำแนกทิศทางของแสงออกเป็น แสงด้านหน้า แสงด้านข้าง และแสงด้านหลัง

แสงด้านหน้า
        แสงด้านหน้าจะกระทบกับด้านหน้าของเป้าหมายตามที่เห็นจากกล้อง ด้วยแสงด้านหน้า คุณสามารถถ่ายภาพที่มีสีสันที่ปรากฏอย่างเป็นธรรมชาติตามที่คุณเห็นในฉากนั้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีเงา แสงประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะสร้างภาพที่ดูธรรมดาๆ ไม่น่าสนใจ และขาดมิติ


การถ่ายภาพด้วยแสงจากด้านหน้า
ความยาวโฟกัส: 35 มม., f-stop: 10.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/50 วินาที

แสงด้านข้าง
       แสงด้านข้างส่องกระทบวัตถุจากด้านข้าง การถ่ายภาพด้วยแสงด้านข้างจะดึงเอาเงาของต้นไม้ออกมา เพื่อสร้างมิติให้กับภาพทิวทัศน์ หากคุณถ่ายภาพในเวลาเย็นก่อนค่ำ อย่าลืมลองถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านข้าง


การถ่ายภาพด้วยแสงด้านข้าง
ความยาวโฟกัส: 200 มม., f-stop: 8.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที

แสงด้านหลัง
          แสงด้านหลังส่องกระทบวัตถุจากด้านหลัง เมื่อแสงด้านหลังส่องผ่านใบไม้ แสงนั้นจะขับเน้นความใสและสีที่สดใสออกมา ทำให้ดูราวกับใบไม้กำลังส่องแสงแวววาวในภาพถ่าย ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายที่ได้รับแสงจากด้านหลังที่ตัดกับฉากหลังสีดำจะแสดงอารมณ์ที่อ่อนไหว จึงควรใช้ประโยชน์จากแสงด้านหลังอย่างมีประสิทธิภาพ
           เมื่อใช้แสงด้านหลัง ความเปรียบต่างและความอิ่มตัวของภาพอาจลดลง หากแสงอาทิตย์เข้าสู่เลนส์โดยตรง ในกรณีนี้ ให้ปรับมุมของกล้องกับแสงอาทิตย์หรือใบไม้ เพื่อไม่ให้แสงอาทิตย์เข้าสู่เลนส์โดยตรง นอกจากนี้ เมื่อแสงที่สว่างมากส่องเข้าหาเลนส์ เป้าหมายมีแนวโน้มที่จะมืด หากเป้าหมายดูมืดหรือไม่สดใสเท่ากับที่คุณตั้งใจไว้ ให้เพิ่มการชดเชยแสงไปในทิศทาง + เพื่อให้ได้ความสว่างเท่ากับที่คุณเห็นด้วยตาเปล่า


การถ่ายภาพด้วยแสงด้านหลัง
ความยาวโฟกัส: 11 มม., f-stop: 14.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/30 วินาที


เมื่อแสงด้านหลังเข้าสู่เลนส์โดยตรง

             ใช้เทคนิคนี้เพื่อถ่ายภาพในสภาพแสงหลายๆ ประเภท โดยพิจารณาถึงตำแหน่งของกล้องเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์
             อย่าจำกัดตัวเองในการถ่ายภาพสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงเฉพาะวันที่มีแดดจ้า คุณสามารถบันทึกภาพได้ในหลากหลายอารมณ์ ทั้งในวันที่แสงแดดมีเมฆหรือวันที่ฝนตก ในวันที่แสงแดดมีเมฆ สีต่างๆ อาจไม่สดใสเท่ากับในวันที่แสงแดดจ้า แต่ฉากทั้งฉากจะปกคลุมด้วยแสงจางๆ เป็นการแสดงออกถึงความปลอดโปร่งโดยปราศจากเงาที่ไม่จำเป็น


ภาพในวันที่แสงแดดมีเมฆ
ภาพในวันที่ฝนตก ความยาวโฟกัส: 115 มม., f-stop: 11.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1 วินาที


ภาพในวันที่ฝนตก
ความยาวโฟกัส: 115 มม., f-stop: 11.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1 วินาที

          หากคุณรวมท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยเมฆหรือท้องฟ้าในวันฝนตกไว้ในองค์ประกอบภาพ ท้องฟ้าสีขาวจะโดดเด่น และคุณมักจะได้ภาพที่ดูธรรมดา ในกรณีนี้ การจับภาพเฉพาะทิวทัศน์โดยไม่รวมท้องฟ้าสามารถทำให้สีสันหลักในฤดูใบไม้ร่วงดูโดดเด่นมากขึ้น และสร้างเป็นภาพที่น่าประทับใจได้
การจับภาพสิ่งที่คุณเห็น
           การบันทึกภาพสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงตามที่คุณเห็นไม่เพียงแต่ต้องอาศัยทิศทางของแสงที่ถูกต้อง แต่ยังรวมถึงการปรับความสว่างและสีโดยใช้การตั้งค่าของกล้องอีกด้วย ในขณะที่กล้องจะคำนวณความสว่างและสีที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ ผลที่ได้อาจไม่ตรงกับภาพที่คุณตั้งใจที่จะถ่ายหรือความประทับใจที่คุณสัมผัสได้ หากคุณพบปัญหาในการถ่ายภาพสิ่งที่คุณเห็น ให้ลองปรับ การชดเชยแสง และ สมดุลสีขาว ภาพที่แสดงออกถึงสิ่งที่คุณเห็นจริงๆ จะมีสีและความสว่างที่เหมาะสม
การปรับแต่งที่จำเป็นจะแตกต่างกันไปตามทิศทางของแสง สภาพอากาศ และเป้าหมาย และจะอธิบายไว้ ณ ที่นี้ ผ่านตัวอย่างที่หลากหลาย ระหว่างการถ่ายภาพจริง ให้ทำการปรับแต่งขณะดูผลลัพธ์บนหน้าจอของกล้อง ในขณะที่คุณยังถ่ายภาพต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ภาพที่คุณต้องการ

การใช้การชดเชยแสง


การชดเชยแสง: 0


การชดเชยแสง: +2.0

           หากฉากหลังสว่างเนื่องจากแสงด้านหลัง สีสันของใบไม้ในภาพอาจมืดและทึบเกินไป ในกรณีนี้ ให้ปรับการชดเชยแสงไปทาง + เพื่อดึงสีสันที่สดใสของใบไม้ออกมา คุณสามารถปรับแต่งฉากหลังให้ดูสว่างเกินไปเล็กน้อยได้

การใช้สมดุลสีขาว


WB อัตโนมัติ


WB แสงแดดมีเมฆ

             สมดุลสีขาวสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อขับเน้นความมีชีวิตชีวา เมื่อถ่ายภาพในวันที่แสงแดดมีเมฆหรือในร่มเงา การตั้งค่าสมดุลสีขาวเป็น [แสงแดดมีเมฆ] สามารถเพิ่มโทนสีแดงโดยรวมในภาพ และทำให้โทนสีแดงและสีเหลืองในสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงปรากฏอย่างมีชีวิตชีวามากขึ้นการปรับแต่งโดยละเอียดสำหรับสมดุลสีขาวยังมีประสิทธิภาพสำหรับการปรับแต่งสีโดยละเอียดอีกด้วย
             เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์หรือถ่ายภาพสแน็ปช็อต คุณอาจต้องการเพิ่มความอิ่มตัวโดยใช้ สร้างสรรค์ภาพถ่าย เพื่อเน้นความมีชีวิตชีวาให้มากขึ้น แต่เนื่องจากความอิ่มตัวดั้งเดิมของสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงทั้งหมดนั้นมีมากอยู่แล้ว การทำเช่นนี้อาจทำให้สีสันอิ่มตัวมากเกินไปและอาจสูญเสียมิติของภาพ จึงไม่แนะนำให้ทำเช่นนี้



              การเพิ่มความอิ่มตัวสามารถทำให้สีแดงอิ่มตัวมากเกินไป และทำให้ภาพดูไม่มีมิติแทนที่จะเพิ่มความอิ่มตัว ให้ลองปรับการชดเชยแสงและสมดุลสีขาว แน่นอน สีถือเป็นความชอบส่วนตัว และไม่มีทางเลือกที่ถูกหรือผิด ตามที่แสดงในภาพด้านล่าง สามารถใช้สมดุลสีขาวเพื่อเพิ่มโทนสีน้ำเงินให้กับภาพจากวันที่แสงแดดมีเมฆ เพื่อแสดงอารมณ์ของความเยือกเย็นและความสงบ


WB แสงแดดกลางวันในวันที่แสงแดดมีเมฆ

ถ่ายภาพด้วยองค์ประกอบภาพหลากหลาย
           เมื่อคุณสามารถควบคุมสีและความมีชีวิตชีวาได้แล้ว คุณสามารถเพลิดเพลินกับการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพเพื่อสร้างสรรค์อารมณ์ต่างๆ ของสีสันใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง

เลนส์หลากชนิดเพื่อการแสดงอารมณ์ที่หลากหลาย
           ตามที่แสดงด้านล่าง วิธีการถ่ายภาพจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงระหว่างการใช้การตั้งค่าแบบมุมกว้างและการใช้การตั้งค่าเทเลโฟโต้ แม้สำหรับทิวทัศน์เดียวกัน มุมกว้างจะสร้างภาพที่ให้แรงบันดาลใจ และมุมเทเลโฟโต้จะนำคุณเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นและสร้างการเบลอ ด้วยการใช้เลนส์หลายชนิดเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุดจากหลายมุม คุณสามารถดึงคุณภาพของสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงออกมาได้มากขึ้น


ภาพมุมกว้าง, ความยาวโฟกัส: 18 มม., f-stop: 8.0


ภาพมุมเทเลโฟโต้, ความยาวโฟกัส: 90 มม., f-stop: 8.0

การถ่ายภาพจากมุมกว้าง
           เมื่อถ่ายภาพจากมุมกว้าง (ความยาวโฟกัสสั้น) คุณสามารถเก็บภาพทิวทัศน์มุมกว้างเอาไว้ในภาพของคุณ และคุณยังสามารถสร้างการแสดงอารมณ์แบบไดนามิกที่ขับเน้นมุมมองและความสูงเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการเบลอเล็กน้อย ทำให้วัตถุทั่วทั้งบริเวณกว้างสามารถอยู่ในโฟกัสได้ ในการเก็บภาพทิวทัศน์ทั้งหมดเอาไว้ในมุมมอง ให้ปรับรูรับแสงเป็น f8.0 ถึง f11


ความยาวโฟกัส: 11 มม., f-stop: 8.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/25 วินาที

            ภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างโดยหันกล้องขึ้นด้านบน การถ่ายภาพเช่นนี้จะขับเน้นความสูงของต้นไม้ที่พุ่งทะยานขึ้นสู่ด้านบนจากด้านซ้าย เป็นการสร้างภาพที่ให้แรงบันดาลใจ


ความยาวโฟกัส: 11 มม., f-stop: 10.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที

            ในภาพนี้ เราจะเข้าใกล้ใบไม้ที่มีชีวิตชีวาในฤดูใบไม้ร่วงมากขึ้น ความเปรียบต่างระหว่างใบไม้กับฉากหลังที่กว้างขวางช่วยสร้างภาพที่มีไดนามิก ด้วยวิธีนี้ คุณสมบัติของมุมที่กว้างจะทำให้เป้าหมายโดดเด่นด้วยความเปรียบต่างระหว่างฉากหน้าและฉากหลัง นอกจากนี้ ด้วยการกำหนดขนาดรูรับแสงให้อยู่ที่ f10 คุณจะสามารถถ่ายทอดรายละเอียดของฉากหลังได้อย่างเด่นชัดโดยไม่ต้องเบลอภาพมากเกินไป
การถ่ายภาพด้วยมุมเทเลโฟโต้

              ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ (ความยาวโฟกัสยาวเมื่อใช้เลนส์ซูม) คุณสามารถปรับการเบลอฉากหลังของเป้าหมายได้มาก และสามารถขับเน้นองค์ประกอบที่น่าประทับใจที่ด้านหน้า เพื่อให้โดดเด่นออกจากทิวทัศน์ภูเขากว้างขวางที่อยู่ไกลออกไป เลนส์เทเลโฟโต้ยังเหมาะสำหรับการสร้างเอฟเฟกต์แบบบีบอัดที่รวมเอาทุกสิ่งไว้ในภาพเดียว โดยไม่สูญเสียมุมมองของภูเขาที่เรียงรายอยู่ในฉากหลังและทิวทัศน์ในฉากหน้า


ความยาวโฟกัส: 200 มม., f-stop: 3.2, ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที

             ในภาพนี้ เลนส์เทเลโฟโต้ถูกนำมาใช้เพื่อถ่ายภาพสีสันในฤดูใบไม้ร่วง ฉากหน้าและฉากหลังพร่ามัวอย่างสวยงาม ยิ่งตั้งค่าเทเลโฟโต้ระยะใกล้เท่าใด ช่วงโฟกัสจะยิ่งสั้นลงและฉากหลังจะได้รับการปรับการเบลอมากขึ้น เป็นการเน้นสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงให้โดดเด่น ในการเพิ่มปริมาณการเบลอ ให้ถ่ายภาพโดยเปิดรูรับแสงให้กว้างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
             เมื่อถ่ายภาพประเภทนี้ ควรให้ความสำคัญกับสีสันของฉากหลัง ภาพด้านบนนี้ถ่ายจากมุมซึ่งทำให้ใบไม้สีเหลืองอยู่ในฉากหลัง และภาพทั้งภาพสร้างความรู้สึกที่มีชีวิตชีวา


ความยาวโฟกัส: 160 มม., f-stop: 8.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที

              เมื่อคุณพบเจอทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นไปได้ที่คุณจะต้องการรวมทุกสิ่งไว้ในภาพเดียว คุณเคยถ่ายภาพแต่ไม่สามารถบันทึกอารมณ์ ณ ขณะนั้นเอาไว้ได้เลยหรือไม่ นั่นเป็นเพราะท้ายที่สุด คุณได้เก็บภาพองค์ประกอบที่ไม่จำเป็นและไม่คาดคิดเอาไว้ในภาพ ซึ่งทำให้เกิดการไขว้เขว แทนที่จะหันกล้องไปยังบริเวณกว้างๆ โดยไร้จุดหมาย ลองค้นหาส่วนที่น่าประทับใจที่สุดของทิวทัศน์และบันทึกภาพนั้นด้วยการตั้งค่าเทเลโฟโต้ ในภาพด้านบน บริเวณที่มีสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงที่สวยงามที่สุดได้รับการโฟกัสอย่างชัดเจนมาก


ความยาวโฟกัส: 150 มม., f-stop: 11.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/4 วินาที

              การถ่ายภาพเทเลโฟโต้ยังเหมาะสำหรับการนำเสนอภาพที่มีการบีบอัดความลึกของทิวทัศน์อีกด้วย แม้ว่าต้นไม้สีเหลืองในฉากหน้า ต้นสนด้านหลัง และภูเขาในฉากหลังจะอยู่ห่างกันหลายกิโลเมตร ทั้งหมดนี้ก็ได้รับการบีบอัดเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนาเพื่อสร้างภาพที่น่าประทับใจ
สร้างการแสดงอารมณ์ต่างๆ ด้วยหลากหลายมุมมองและแนวคิด

               การถ่ายภาพสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงไม่ใช่การจับภาพต้นไม้และใบไม้ในฐานะเป้าหมายของคุณเท่านั้น การรวมเอาทิวเขา ทะเลสาบ และทิวทัศน์โดยรอบอื่นๆ เข้าด้วยกันสามารถทำให้สีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงน่าดึงดูดมากขึ้น และใบไม้ที่ร่วงหล่นเองก็สามารถสื่อถึงทิวทัศน์ในฤดูใบไม้ร่วงได้ ลองถ่ายภาพเป้าหมายต่างๆ พร้อมองค์ประกอบที่หลากหลายในมุมมองกว้างๆ และเพลิดเพลินกับอิสระของการบันทึกภาพสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง


(1) ความยาวโฟกัส: 50 มม., f-stop: 2.8, ความเร็วชัตเตอร์: 1/8 วินาที


(2) ความยาวโฟกัส: 70 มม., f-stop: 7.1, ความเร็วชัตเตอร์: 1/160 วินาที

(1) ภาพของใบไม้ที่ร่วงหล่นลอยอยู่บนผิวน้ำในแอ่งขนาดเล็กใกล้กับเท้าของคุณบ่งบอกถึงการสิ้นสุดฤดูใบไม้ร่วง สีสันใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงเป็นมากกว่าแค่ต้นไม้ที่โอบล้อมด้วยสีแดงเข้ม แม้หลังจากผ่านช่วงที่สวยงามที่สุดของสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงไปแล้ว ฤดูใบไม้ร่วงก็ยังคงปรากฏอยู่ทุกที่
(2) แม้กระทั่งหยดน้ำเล็กๆ บนไม้ใบที่ร่วงหล่นก็สื่ออารมณ์ของฤดูใบไม้ร่วงได้


ความยาวโฟกัส: 35 มม., f-stop: 10.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/15 วินาที

         ทะเลสาบ บ่อน้ำ และแม่น้ำ ซึ่งมักเป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนสีสันของใบไม้และต้นไม้ในฤดูใบไม้ร่วง ก็สามารถเป็นองค์ประกอบหลักได้ในบางครั้ง ให้ความสำคัญกับลักษณะที่ต้นไม้หลากสีสันสะท้อนบนผืนน้ำของแหล่งน้ำต่างๆ

การใช้เลนซ์ซูมกำลังขยายสูง
          เลนส์ซูมกำลังขยายสูงมีประโยชน์เมื่อถ่ายภาพสีสันของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง คุณสามารถใช้เลนส์ชิ้นเดียวเพื่อบันทึกภาพทุกสิ่งตั้งแต่มุมกว้างไปจนถึงมุมเทเลโฟโต้ เพื่อให้ได้อารมณ์ที่หลากหลายโดยไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์ เลนส์ซูมกำลังขยายสูงนั้นมีประโยชน์มากเมื่อคุณต้องการให้ชุดอุปกรณ์ของคุณมีน้ำหนักเบาที่สุดสำหรับการท่องเที่ยว ปีนเขา และเดินเขา



ความยาวโฟกัส: 250 มม., f-stop: 6.3, ความเร็วชัตเตอร์: 1/125 วินาที


SAL18250

              เลนส์ซูมกำลังขยายสูงชิ้นเดียวสำหรับกล้องดิจิตอลรูปแบบ APS-C แบบเปลี่ยนเลนส์ได้นั้นครอบคลุมตั้งแต่การตั้งค่า 27 มม. มุมกว้าง ไปจนถึง 375 มม. เทเลโฟโต้ (เทียบเท่า 35 มม.) ด้วยการใช้ชิ้นเลนส์ Aspherical สองชิ้นและชิ้นเลนส์กระจก ED สองชิ้น เลนส์ชนิดนี้มีการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของสีในระดับที่ดีเยี่ยม คุณจะได้ภาพคุณภาพสูงตลอดทั้งช่วงการซูม นอกจากนี้ เลนส์ชนิดนี้มีกำลังขยายสูงสุด 0.29x เพื่อการถ่ายภาพมาโครที่เปี่ยมประสิทธิภาพ เพื่อความสะดวกในการพกพามากยิ่งขึ้น เลนส์ชนิดนี้มาพร้อมฟังก์ชันล็อคการซูมเพื่อป้องกันไม่ให้เลนส์ยืดออกมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ ไดอะแฟรมวงกลมสร้างการเบลอสำหรับบริเวณที่ไม่อยู่ในโฟกัสได้อย่างมีเสน่ห์ และการโฟกัสภายมีระบบ AF ที่ลื่นไห]


ความยาวโฟกัส: 47 มม., f-stop: 8.0, ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที


SEL18200LE

             เลนซ์ซูมกำลังขยายสูงแบบ E-Mount นี้ มีกำลังการซูมออปติคัลประมาณ 11x ครอบคลุมการถ่ายภาพหลากหลายแบบ ตั้งแต่ 27 มม. มุมกว้าง ไปจนถึง 300 มม. เทเลโฟโต้ (เทียบเท่า 35 มม.) ตัวเลนส์มีน้ำหนักเบา กะทัดรัด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการพกพาระหว่างท่องเที่ยว ฟังก์ชันป้องกันภาพสั่นไหวแบบออปติคัลในตัวช่วยลดผลจากการสั่นไหวของกล้อง แม้ในการถ่ายภาพแบบเทเลโฟโต้ และยังมาพร้อมกับระบบ AF ที่ลื่นไหลและเงียบสนิท ตกแต่งภายนอกด้วยภาพลักษณ์สีดำคุณภาพสูง มอบความรู้สึกหรูหราให้กับเลนส์

ที่มา: http://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson16.html