บทที่ 1ถ่ายภาพบุคคลอันน่าประทับใจโดยเน้นที่ตัวบุคคล
หากคุณทำให้ฉากหลังพร่ามัวและเน้นที่ตัวบุคคล คุณจะสามารถถ่ายภาพที่น่าประทับใจโดยมีวัตถุหลักที่ชัดเจนได้ภาพถ่ายเหล่านี้เรียกว่าภาพบุคคล และสามารถใช้เทคนิคนี้สำหรับการถ่ายสแน็ปช็อตประจำวัน ตลอดจนภาพถ่ายอันน่าจดจำในงานวันเกิดหรืองานแต่งงาน
เมื่อถ่ายภาพแบบไม่ตั้งใจ เรามักจะถ่ายตัวบุคคลแบบเต็มตัวในเฟรม ซึ่งทำให้ได้องค์ประกอบที่จำเจราวกับภาพในแฟ้มประวัติ
ในบทนี้ คุณจะได้เรียนรู้เคล็ดลับบางประการในการเน้นที่ตัวบุคคลและตกแต่งภาพถ่ายให้น่าประทับใจยิ่งขึ้น
เมื่อถ่ายภาพ ให้ตั้งค่ากล้องเป็นโหมด A และเปิดช่องรับแสงให้มากที่สุด
การถ่ายภาพในด้านระยะไกล
หากคุณใช้เลนส์ซูม ให้เข้าใกล้วัตถุให้มากที่สุด และถ่ายในด้านระยะไกล (โดยใช้ความยาวโฟกัสยาวขึ้น) ด้วยวิธีนี้ คุณสามารถกำจัดวัตถุโดยรอบที่ไม่ต้องการและทำให้ฉากหลังพร่ามัวได้มากขึ้น จึงเน้นเฉพาะตัวบุคคลให้เด่น

[1] ความยาวโฟกัส: 50 มม. /
เลข F: 2.8[2] ความยาวโฟกัส: 50 มม. /
เลข F: 2.8
ในตัวอย่างข้างต้น ภาพ [2] ถ่ายเข้าใกล้กับตัวบุคคลให้มากขึ้นและซูมที่ส่วนลำตัวด้านบน ภาพที่ได้จะแสดงอารมณ์ของตัวบุคคลได้อย่างโดดเด่น จึงสื่ออารมณ์ของภาพได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการถ่ายภาพในระยะใกล้ ฉากหลังจะพร่ามัวยิ่งขึ้นและเน้นที่การแสดงอารมณ์ของเด็กผู้หญิง
สำหรับการถ่ายภาพที่น่าจดจำในสถานที่ท่องเที่ยว ภาพถ่ายอย่างภาพ [1] ซึ่งรวมเอาทิวทัศน์รายรอบมาไว้ในเฟรมก็อาจจะดีกว่า อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการให้ตัวบุคคลโดดเด่นเพียงอย่างเดียว ภาพ [2] จะน่าประทับใจมากกว่า
การพิจารณาองค์ประกอบ
การเปลี่ยนองค์ประกอบจะสร้างบรรยากาศของภาพที่แตกต่างออกไปอย่างมาก แม้ว่าคุณจะถ่ายวัตถุเดียวกัน
ในการถ่ายภาพแบบสบายๆ เรามักจะจัดองค์ประกอบของภาพโดยเอาตัวบุคคลไว้ตรงกลางเฟรม อย่างไรก็ตาม เมื่อถ่ายภาพบุคคล ให้ลองใช้ "Rule of Thirds" (กฎสามส่วน) ในการจัดองค์ประกอบ
ในการจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" เฟรมจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน (แนวนอน 3 x แนวตั้ง 3) และวัตถุหลักจะถูกจัดวางไว้ที่จุดตัดของเส้นแบ่ง สำหรับภาพบุคคล ให้วางกึ่งกลางของใบหน้าหรือตาไว้ที่จุดตัด
"Rule of Thirds" เป็นพื้นฐานของภาพถ่ายที่ได้สัดส่วน หากคุณไม่แน่ใจว่าจะจัดองค์ประกอบอย่างไร ให้ลองใช้ "Rule of Thirds." โดยให้ยึดกฎข้อนี้ไว้ คุณจะสามารถถ่ายภาพดีๆ ได้มากมายโดยอัตโนมัติ กล้อง α มีฟังก์ชันในการแสดงเส้นกริด "Rule of Thirds" บนหน้าจอด้านหลังของกล้อง ใช้ฟังก์ชันนี้หากคุณต้องการแนวทางการจัดองค์ประกอบภาพ
สำหรับการถ่ายภาพที่น่าจดจำในสถานที่ท่องเที่ยว ภาพถ่ายอย่างภาพ [1] ซึ่งรวมเอาทิวทัศน์รายรอบมาไว้ในเฟรมก็อาจจะดีกว่า อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการให้ตัวบุคคลโดดเด่นเพียงอย่างเดียว ภาพ [2] จะน่าประทับใจมากกว่า
การพิจารณาองค์ประกอบ
การเปลี่ยนองค์ประกอบจะสร้างบรรยากาศของภาพที่แตกต่างออกไปอย่างมาก แม้ว่าคุณจะถ่ายวัตถุเดียวกัน
ในการถ่ายภาพแบบสบายๆ เรามักจะจัดองค์ประกอบของภาพโดยเอาตัวบุคคลไว้ตรงกลางเฟรม อย่างไรก็ตาม เมื่อถ่ายภาพบุคคล ให้ลองใช้ "Rule of Thirds" (กฎสามส่วน) ในการจัดองค์ประกอบ
ในการจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" เฟรมจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน (แนวนอน 3 x แนวตั้ง 3) และวัตถุหลักจะถูกจัดวางไว้ที่จุดตัดของเส้นแบ่ง สำหรับภาพบุคคล ให้วางกึ่งกลางของใบหน้าหรือตาไว้ที่จุดตัด
"Rule of Thirds" เป็นพื้นฐานของภาพถ่ายที่ได้สัดส่วน หากคุณไม่แน่ใจว่าจะจัดองค์ประกอบอย่างไร ให้ลองใช้ "Rule of Thirds." โดยให้ยึดกฎข้อนี้ไว้ คุณจะสามารถถ่ายภาพดีๆ ได้มากมายโดยอัตโนมัติ กล้อง α มีฟังก์ชันในการแสดงเส้นกริด "Rule of Thirds" บนหน้าจอด้านหลังของกล้อง ใช้ฟังก์ชันนี้หากคุณต้องการแนวทางการจัดองค์ประกอบภาพ

ความยาวโฟกัส: 24 มม. / เลข F: F1.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/250 วินาที
เพียงวางจุดกึ่งกลางของศีรษะบนเส้นแบ่ง ภาพด้านบนก็กลายเป็นภาพที่น่าประทับใจและได้สัดส่วน นอกจากนี้ การเหลือพื้นที่ในบริเวณที่ตัวบุคคลทอดสายตาไป ภาพที่ได้ก็จะถ่ายทอดบรรยากาศของช่วงเวลานั้นออกมา
และเนื่องจากเป็นหลักการเบื้องต้น ควรจะถ่ายภาพในแนวตั้งดังเช่นภาพข้างบน การวางลำตัวของบุคคลให้ขนานกับด้านยาวของภาพจะทำให้ฉากหลังได้รับการจัดวางอย่างเป็นธรรมชาติ และคุณสามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่เรียบง่ายและชัดเจนได้อย่างง่าย การถ่ายภาพในแนวนอนก็เป็นแนวทางที่ดีหากคุณต้องการให้มีฉากหลังด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการเน้นเฉพาะตัวบุคคล ขอแนะนำให้ใช้การถ่ายภาพในแนวตั้ง
การใช้แสงด้านหลัง
อีกจุดหนึ่งที่สำคัญก็คือมุมของแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับภาพถ่ายผู้หญิง คุณสามารถปรับผิวและเส้นผมให้มีความนุ่มนวลได้ด้วยการถ่ายโดยใช้แสงด้านหลัง หากต้องการให้ได้แสงด้านหลังที่สวยงาม ให้หลีกเลี่ยงช่วงเวลากลางวันที่แสงแดดจัด และให้ถ่ายในช่วงบ่ายเมื่อแสงแดดอ่อนลง หรือในวันที่มีเมฆหากเป็นไปได้ หากคุณต้องการถ่ายภาพภายใต้แสงแดดจัด ให้ลองหาวิธีทีให้แสงอ่อนลง เช่น การถ่ายใต้ต้นไม้
ในทางกลับกัน หากคุณต้องการถ่ายโดยใช้แสงด้านหน้า จะทำให้เกิดเงาบนใบหน้า และการแสดงอารมณ์ของตัวบุคคลจะดูขรึมเนื่องจากแสงจ้า หากคุณสามารถควบคุมมุมของแสงได้ ให้ลองสร้างแสงด้านหลัง
หากคุณถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหลัง ใบหน้าอาจดูมืดได้ ในกรณีนี้ ให้ปรับการเปิดช่องรับแสงโดยใช้ฟังก์ชันการชดเชยแสงเพื่อให้ใบหน้ามีความสว่างเพียงพอ แม้ว่าฉากหลังจะค่อนข้างขาวเล็กน้อย แต่จะช่วยปรับให้บรรยากาศของบุคคลดูนุ่มนวล
การใช้แสงด้านหลัง
อีกจุดหนึ่งที่สำคัญก็คือมุมของแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับภาพถ่ายผู้หญิง คุณสามารถปรับผิวและเส้นผมให้มีความนุ่มนวลได้ด้วยการถ่ายโดยใช้แสงด้านหลัง หากต้องการให้ได้แสงด้านหลังที่สวยงาม ให้หลีกเลี่ยงช่วงเวลากลางวันที่แสงแดดจัด และให้ถ่ายในช่วงบ่ายเมื่อแสงแดดอ่อนลง หรือในวันที่มีเมฆหากเป็นไปได้ หากคุณต้องการถ่ายภาพภายใต้แสงแดดจัด ให้ลองหาวิธีทีให้แสงอ่อนลง เช่น การถ่ายใต้ต้นไม้
ในทางกลับกัน หากคุณต้องการถ่ายโดยใช้แสงด้านหน้า จะทำให้เกิดเงาบนใบหน้า และการแสดงอารมณ์ของตัวบุคคลจะดูขรึมเนื่องจากแสงจ้า หากคุณสามารถควบคุมมุมของแสงได้ ให้ลองสร้างแสงด้านหลัง
หากคุณถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหลัง ใบหน้าอาจดูมืดได้ ในกรณีนี้ ให้ปรับการเปิดช่องรับแสงโดยใช้ฟังก์ชันการชดเชยแสงเพื่อให้ใบหน้ามีความสว่างเพียงพอ แม้ว่าฉากหลังจะค่อนข้างขาวเล็กน้อย แต่จะช่วยปรับให้บรรยากาศของบุคคลดูนุ่มนวล

ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 1.4 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/1600 วินาที / การชดเชยแสง: +0.7
ภาพนี้คือการถ่ายภาพบุคคลผู้หญิงที่ใช้แสงด้านหลังในวันที่มีเมฆ ตัวบุคคลจะถูกส่องสว่างจากด้านหลังทางด้านขวา ในภาพไม่มีเงาที่ไม่ต้องการบนใบหน้า และแสงที่เปล่งประกายผ่านเส้นผมก็ขับให้ดูนุ่มนวลและดูเบาสบาย
ลองใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่
แนะนำให้ใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่เพื่อทำให้ฉากหลังพร่ามัวเพิ่มขึ้นและเน้นให้ตัวบุคคลดูโดดเด่นเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่ยอมให้แสงปริมาณมากเข้ามายังกล้อง จึงช่วยลดการเบลอเมื่อถ่ายในสถานการณ์ที่มีแสงน้อยตลอดจนภาพบุคคลได้
ลองใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่
แนะนำให้ใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่เพื่อทำให้ฉากหลังพร่ามัวเพิ่มขึ้นและเน้นให้ตัวบุคคลดูโดดเด่นเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่ยอมให้แสงปริมาณมากเข้ามายังกล้อง จึงช่วยลดการเบลอเมื่อถ่ายในสถานการณ์ที่มีแสงน้อยตลอดจนภาพบุคคลได้

ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/50 วินาที

SAL50F14
เลนส์ "ปกติ" ที่รวดเร็วซึ่งมีความจำเป็นนี้จะให้ความละเอียดแบบทั่วถึง ขณะที่การผสานกันของการออกแบบช่องรับแสงสูงสุด F1.4 และช่องรับแสง Circular ช่วยให้สามารถสร้างเอฟเฟกต์พร่ามัวที่นุ่มนวลราวแพรไหมขึ้นมาเพื่อปรับความลึกของภาพและแยกส่วนประกอบที่สำคัญออกมา เนื่องจากช่องรับแสงขนาดใหญ่ จึงยอมให้แสงเข้ามามากขึ้นซึ่งช่วยให้การถ่ายภาพโดยใช้มือถือง่ายขึ้น แม้ในสถานการณ์ที่มีแสงน้อย

ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 1.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/4000 วินาที

SEL50F18
นี่คือเลนส์ระยะไกลปานกลางที่มีความยาวโฟกัส 50 มม. ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพบุคคล การออกแบบช่องรับแสงขนาดใหญ่และช่องรับแสง Circular จะสามารถสร้างฉากหลังที่พร่ามัวได้อย่างงดงาม นอกจากนี้ ด้วยการทำงานร่วมกันกับระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical SteadyShot จึงสามารถถ่ายภาพที่คมชัดภายใต้สภาวะแสงน้อยได้
ที่มา: http://www.fusionidea.biz/html-
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น